มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย เปิดตัวโครงการและเทศกาลรักการอ่านผ่านนิทานและการเล่น (Let’s Read and Play’s Reading Festival) ปลูกฝังนิสัยรักการอ่านในเด็กปฐมวัย ต่อยอดสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดชีวิต
มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย เปิดตัว “โครงการ Let’s Read and Play (ประเทศไทย)” และเทศกาลรักการอ่านผ่านนิทานและการเล่น เมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2566 ณ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย (ประถมศึกษา)กรุงเทพฯ ด้วยเล็งเห็นความสำคัญของนิทาน กิจกรรมการอ่านและการเล่นว่าเป็นฟันเฟืองสำคัญสำหรับเติมเต็มพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยในประเทศไทยที่เป็นพื้นฐานสำหรับการรู้หนังสือและทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กอย่างเหมาะสมตามวัย สร้างความพร้อมให้เด็กก่อนเข้าสู่การเรียนในระดับประถมศึกษา อีกทั้งยังช่วยสร้างความสุข ความมั่นใจ และสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว ตลอดจนถึงความร่วมมือระหว่างครอบครัว โรงเรียน และชุมชนให้แน่นแฟ้น นับเป็นการสานต่อความสำเร็จจากโครงการ Let’s Read ที่เกิดขึ้นโดยมูลนิธิเอเชีย ตั้งแต่ปี 2559
นายโทมัส พาร์ค ผู้แทนมูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการ Let’s Read and Play (ประเทศไทย)” เกิดขึ้นด้วยการสนับสนุนของบริษัท โนมูระ สิงคโปร์ จำกัด (Nomura Singapore Limited) และความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อกระตุ้นส่งเสริมกิจกรรมการอ่านในระดับโรงเรียนและระดับครัวเรือน กระตุ้นให้พ่อแม่ผู้ปกครองช่วยเหลือดูแลและร่วมเสริมสร้างทักษะการอ่านเพื่อการเรียนรู้ของเด็ก ช่วยผลักดันให้เด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ที่แท้จริง นับเป็นการสานต่อความสำเร็จจากโครงการด้านการศึกษาของมูลนิธิเอเชียเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ในการสนับสนุนการพัฒนาการศึกษาระดับปฐมวัยในประเทศไทยให้ยั่งยืน”
น.ส.วรจรรย์ เนียมทรัพย์ ผู้จัดการโครงการ Let’s Read and Play มูลนิธิเอเชีย ประเทศไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า “โครงการ Let’s Read and Play (ประเทศไทย)” นำร่องการดำเนินงานที่ “โรงเรียนฤทธิยะ วรรณาลัย (ประถมศึกษา)” ด้วยการดูแลเอาใจใส่อย่างดียิ่งของ ดร.พวงผกา แสงเงิน ผู้อำนวยการโรงเรียน รวมทั้งรศ.ดร. อรพรรณ บุตรกตัญญู ผู้เชี่ยวชาญด้านเด็กปฐมวัยและคณะนิสิตบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาปฐมวัยศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้คัดเลือกหนังสือนิทานภาษาไทยจากห้องสมุดนิทานดิจิทัล Let’s Read (letsreadasia.org) จำนวน 64 เรื่อง ที่มีเนื้อหาสอดคล้องกับสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ. 2560 ของประเทศไทย มาออกแบบเป็นหลักสูตรและกิจกรรมส่งเสริมการอ่านเพื่อการเรียนรู้ที่โรงเรียน 32 สัปดาห์ที่เชื่อมโยงกับหน่วยการเรียนรู้ที่ครูจัดกิจกรรมในชั้นเรียน เช่นเดียวกับที่คุณพ่อคุณแม่ผู้ปกครองได้ใช้เวลาในอ่านนิทานและทำกิจกรรมกับลูกที่บ้าน นอกจากนี้ยังมีการจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ให้ผู้ปกครองที่จะได้เข้าร่วมถึง 10 ครั้ง ซึ่งจัดขึ้นในทุก ๆ เดือนตลอดปีการศึกษา ภายใต้การดำเนินการของบุคลากรครูปฐมวัยผู้นำกิจกรรมการเรียนรู้และผู้ช่วยจำนวน 16 คน ที่ได้รับการฝึกอบรมอย่างเข้มข้นให้สามารถจัดกิจกรรมการอ่านเพื่อ
ยิ่งไปกว่านั้น ดร.วีรภัทร์ สุขศิริ และคณะผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินผลจะได้รวบรวมข้อมูลพัฒนาการของเด็กตั้งแต่ก่อนเริ่มต้นจนถึงสิ้นสุดโครงการเพื่อนำไปวิเคราะห์วิจัย จัดทำรายงานการประเมินผลด้านการอ่านและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย เพื่อนำไปเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พิจารณาใช้ขยายผลต่อไป”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น