‘กัญชงไทย’ ตอบโจทย์ 14 อุตสาหกรรม เพิ่มขีดแข่งขันระดับสากล พร้อมจัดงาน Asia International Hemp Expo and Forum 2023 สร้างจุดเชื่อมโยงไทยสู่ตลาดโลก

สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย
 (TIHTA) เดินหน้าสร้างการพัฒนาอุตสาหกรรมกัญชงไทยตอบโจทย์ 14 อุตสาหกรรมศักยภาพ ด้านพรชัย ปัทมินทร นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย ชี้กัญชงเป็นโอกาสเติบโตของเศรษฐกิจไทย แนะเร่งสร้างมูลค่าเพิ่มหนุนอุตสาหกรรมกัญชงไทยให้เติบโตอย่างแข็งแกร่ง พร้อมจับมือ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) ต่อยอดอุตสาหกรรมกัญชงเพื่อเป็นศูนย์กลางของเอเชียผ่านการจัดงาน ‘Asia International Hemp Expo and Forum 2023’ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมาย GrowingIndustries Together สร้างจุดเชื่อมโยงตลาดกัญชงไทยสู่ตลาดโลก เตรียมจัดงาน 22-25 พ.ย. นี้ ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

นายพรชัย ปัทมินทร นายกสมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมของอุตสาหกรรมกัญชงไทยในช่วงที่ผ่านมา นับตั้งแต่ 9 มิถุนายน 2565 ที่มีการปลดล็อคพืชกัญช สมาคมการค้าอุตสาหกรรมกัญชงไทย หรือ  TIHTA ได้สร้างเครือข่ายของอุตสาหกรรมกัญชงและการเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันพร้อมพัฒนาอุตสาหกรรมพืชกัญชงไทยให้มีความแข็งแรงตั้งแต่เกษตรกรต้นน้ำ ผู้ประกอบการด้านแปรรูป และผู้ผลิต รวมไปถึงการสร้างแนวทางให้กัญชงไทยตอโจทย์ตลาดอุตสาหกรรมกัญชงโลกให้ได้มากที่สุด

อุตสาหกรรมกัญชงไทยถือว่ามีความแข็งแรงและมีการขับเคลื่อนรวมถึงการวางมาตรฐานของอุตสาหกรรมมาตั้งแต่ปี 2564 ครอบคลุม 6 มาตรฐานเพื่ออุตสาหกรรมกัญชง คือ 1.น้ำมันเมล็ดกัญชง 2.สารสกัดจากกัญชงที่มีปริมาณ CBD รวม ไม่น้อยกว่า 30% 3.สารสกัดจากกัญชงที่มีปริมาณ CBD รวม ไม่น้อยกว่า 80% 4. เปลือกกัญชง 5.แกนกัญชง 6.เส้นใยกัญชง ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นมาตรฐานของการนำวัตถุดิบจากกัญชงมาใช้ในแต่ละประเภทอุตสาหกรรม จนปัจจุบันมีการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมที่เชื่อมโยงกับพืชกัญชงมากถึง 14 ประเภทอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมทางการแพทย์ อาหารเครื่องดื่ม อาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชสำอาง ยานยนตร์ วัสดุก่อสร้าง ไปจนถึงอุตสาหกรรมสัตว์เลี้ยงเป็นต้น

ขณะที่การเติบโตของอุตสาหกรรมและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับพืชกัญชงของไทยในช่วงปีที่ผ่านมา มีการเติบโตตามกรอบของระเบียบและกฎหมายการรับรอง ทั้งในแง่ของ ห่วงโซ่อุตสาหกรรมอันได้แก่ การปลูก การสกัด และผลิตภัณฑ์ โดยข้อมูลจากแอปพลิเคชันปลูกกัญชงมีการลงทะเบียนการปลูกกว่า 1.1 ล้านคน และข้อมูลจากองค์การอาหารและยา และกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือกมีพื้นที่การปลูกมากถึง 11,348,882 ตรม. สำหรับใบอนุญาตผู้สกัดสารสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 89 แห่ง โดยแบ่งเป็นใบอนุญาตสกัดกัญชา 41 แห่ง ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐทั้งหมด และใบอนุญาตสกัดกัญชง 48 แห่ง โดยมีเอกชน 39 ราย และหน่วยงานรัฐ 9 ราย สำหรับผลิตภัณฑ์ด้านปลายน้ำ อ้างอิงจากระบบสืบค้นข้อมูลผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีกัญชงและกัญชาเป็นส่วนประกอบ ของคณะกรรมการอาหารและยา มีการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กับคณะกรรมการอาหารและยากว่า 1,000 รายการ ซึ่งแบ่งเป็นเครื่องสำอาง 77อาหารและอาหารเสริม 19% และผลิตภัณฑ์สมุนไพร 4% นอกจากนี้ด้านมูลค่าตลาดข้อมูลจาก Euromonitor มูลค่าทางการตลาดกัญชงและกัญชาของประเทศไทยในปี 2565 มีมูลค่า 8,482 ล้านบาท และคาดการณ์เติบโตในปี 2570 จะมีมูลค่า 73,447 ล้านบาท

ทางสมาคมฯทำงานร่วมกับภาครัฐมาโดยตลอด มองว่าอุตสาหกรรมกัญชงเป็นโอกาสของประเทศ โดยให้ผู้ประกอบการเน้นหนักไปที่การสร้างมูลค่าเพิ่ม เพราะหากทุกคนมุ่งไปสู่การปลูกเป็นส่วนใหญ่ สุดท้ายก็จะเกิดการแย่งกันขายและตัดราคากันในที่สุด ทำให้ไม่เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เป็นนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มได้เลย ยกตัวอย่างเช่น การนำสารสกัดจากัญชงไปเป็นส่วนผสมในยาหม่องสมุนไพรที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย มูลค่าตลาดระดับพันล้านบาท นี่คือส่วนหนึ่งที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กัญชงได้ มากกว่าการมุ่งเน้นเพียงแค่การปลูก ฉะนั้นผู้ประกอบการควรศึกษา พัฒนาองค์ความรู้ และนำกัญชงไปต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม จะเป็นสิ่งที่ทำให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตได้รวดเร็วยิ่งขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมกัญชงยังตอบโจทย์ในด้านความยั่งยืนของ Sustainable Development Goal (SDGs) ซึ่งเป็นเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (United Nations/ UN) ทั้งในด้านสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ด้านพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้ ด้านสร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และด้านการเสริมความเข้มแข็งของความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พรชัย กล่าว  

สำหรับ Asia International Hemp Expo and Forum 2023 ภายใต้แนวคิด การต่อยอดสู่เป้าหมาย Growing Industries Together ในปีนี้มีการเชื่อมโยงและทำความร่วมมือกันอย่างชัดเจนทั้งในและต่างประเทที่พร้อมเชื่อมโยงและ ปรับบริบททางธุรกิจให้ตรงกับสภาวะปัจจุบัน ตรงกับผู้บริโภคแลความต้องการในตลาดนี้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้ทั่วโลก มีปัจจัยหลักคือการผลักดันให้เกิดกระบวนการธุรกิจในเชิงสิ่งแวดล้อม หรือ การสร้าง Sustainability ในธุรกิจ โดยพืชตระกูลกัญชงนับเป็นทางเลือกที่มีความโดดเด่นในด้านการนำมาพัฒนาได้ทุกส่วน ตลอดจนสารสกัดที่สามารถนำนวัตกรรมเหล่านี้มาใช้ในเชิงการแพทย์ Wellness และต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอื่นๆ ได้อย่างครบวงจร อีกทั้งยังเป็นโอกาสของเส้นใยหรือไฟเบอร์ที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิเส้นใยที่มีคุณภาพที่ดีเพื่อแข่งขันในระดับโลก โดยประเทศที่ใช้เส้นใยกัญชงในการผลิตสินค้า ฉนวนกันความร้อน ผนังกันเสียง วัสดุก่อสร้างต่างๆ และส่วนประกอบยานยนต ไปจนถึงพลังงานสะอาดจากกัญชง ไม่ว่าจะเป็นแบตเตอรี่ และ พลังงานชีวมวล (Biomass) ซึ่งเกษตรกรต้นน้ำและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมกัญชงของไทยทั้งที่เป็นสมาชิกสมาคมและรายอื่นๆ ได้มีเวทีในการโชว์ศักยภาพและเปิดโอกาสให้เห็นคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศได้มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้อ้างอิงข้อมูลจาก Fortune Business Insights มูลค่าของตลาดเส้นใยกัญชงในปี 2565 อยู่ที่6,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดสูงถึง 31,920 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2573 ซึ่งปัจจุบันยุโรปครองส่วนแบ่งตลาดเส้นใยกัญชงมากที่รองลงมาสหรัฐอเมริกา โดยประเทศที่มีพื้นที่การเพาะปลูกเส้นใยกัญชงมากที่สุดคือ จีน แคนาดา และสหรัฐอเมริกา

นายสุรพล อุทินทุ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ็น.ซี.ซี. เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ จำกัด (นีโอ) เปิดเผยว่า งาน Asia International Hemp Expo and Forum2023 ถือเป็นงานแสดงเทคโนโลยี นวัตกรรม และผลิตภัณฑ์กัญชงนานาชาติ งานแรกของเอเชียที่เป็นจุดเชื่อมโยงโอกาสทางธุรกิจของนักอุตสาหกรรมในวงการจากทั่วโลก สำหรับปีที่ผ่านมาได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้เข้าชมงานจากกว่า 8ชาติ สร้างมูลค่าการซื้อขายจากการจัดงานกว่า 5,500 ล้านบาท จากผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานตั้งแต่ต้นน้ำการปลูก กลุ่มวัตถุดิบ การแปรรูป ไปถึงปลายน้ำที่เป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่าย ภายใต้มาตรฐานการคัดกรองสินค้าที่มุ่งเน้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการแพทย์โดยเฉพาะ และในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานไม่ต่ำกว่า 10,000 คน มูลค่าเงินหมุนเวียนในงานไม่ต่ำกว่า 8,000 ล้านบาท

สำหรับการจัดงาน Asia International Hemp Expo and Forum 2023 จะนำเสนอเทคโนโลยีและโซลูชั่นใน 14 อุตสาหกรรมหลัก โดยยึดหลักกระบวนการผลิตตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG เพื่อเกื้อกูลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน และการเจรจาเพื่อเชื่อมต่อโอกาสทางธุรกิจ ระหว่างผู้ประกอบการอุตสหกรรมไทย และนักลงทุนจากนานาชาติ ในฐานะศูนย์กลางของอุตสาหกรรมกัญชงของภูมิภาคนอกจากนี้ ภายในงานจะมี Showcase ทุกประเภทอุตสาหกรรม รวถึงการนำมาใช้ในเชิงวัฒนธรรม งานหัตถศิลป์ที่สร้างเป็นผลงานต่อยอด ยกระดับของเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรม สู่การสร้างชิ้นงานศิลป์ในโซน ‘Hemp for Living’ โดยศิลปินของไทยที่ชื่อเสียงระดับโลก ทำให้กัญชงไทยสามารถสร้างแรงบันดาลใจและแรงผลักดันที่จะก่อให้เกิดการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิได้อีกส่วนหนึ่ง

นอกจากนั้นในปีนี้มีการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญในการเสวนาเชิงวิชาการส่วนของ International Hemp Forum โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญกว่า 12 ประเทศในแต่ละประเภทอุตสาหกรรมอันเกี่ยวเนื่องกับพืชเศรษฐกิจนี้มาร่วมให้ข้อมูลและประสบการณ์แบบจัดเต็มครอบคลุมทุกกลุ่มธุรกิจกัญชง ที่สำคัญในงานครั้งนี้ เรามีการจัดสรรพื้นที่พิเศษสำหรับผู้ร่วมแสดงสินค้า นักธุรกิจ ผู้ประกอบการ รวมถึงนักลงทุนที่เข้าชมงาน ได้มาพบปะและเจรจาธุรกิจกันในช่วงเย็นของทุกวันในบรรยากาศ business leisure ในโซน ‘At 6’ Networking Zone ภายในงาน Asia International Hemp Expo and Forum 2023 ทั้งนี้กำหนดจัดงาน วันที่ 22-25 พฤศจิกาย 2566 ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


ความคิดเห็น