CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab” โชว์ผลงานปั้นธุรกิจใหม่ ร่วมกับ ครีเอเตอร์ 30 คู่ ส่งเสริมรายได้อย่างยั่งยืน
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA แถลงสรุปโครงการ “CHANGEx2 Local Collab แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ หนุน Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่”จากพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษนครปฐม สุพรรณบุรี ชลบุรี เเละสงขลา ส่งเสริมการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจดั้งเดิม สร้างแบรนด์ดิงให้กับสินค้าท้องถิ่น สู่การผลักดันสินค้าให้ส่งออกได้ในตลาดสากล คาดเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจท้องถิ่นที่เข้าร่วมโครงการไม่ต่ำกว่าร้อยละ 26 ตลอดการจัดโครงการ โดยผลประกอบการภายใน 3 เดือนแรก (มิ.ย.- ส.ค. 66) ทำรายได้ไปแล้วกว่า 2.5 ล้านบาท พร้อมจัดแสดงผลงานจากผู้ประกอบการ ร่วมกับครีเอเตอร์ไทยรุ่นใหม่ ทั้งหมด 30 คู่ธุรกิจ ภายในงาน “ไทย เที่ยว ไทย ครั้งที่ 67” ศูนย์การประชุมเเห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 24 - 27 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 - 21.00 น.
สำหรับโครงการ “CHANGEx2 Local Collab แท็กทีมปั้นธุรกิจใหม่ หนุน Soft Power ไทย สร้างรายได้แพ็กคู่” ในปีนี้ มีผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขาเข้าร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ ทั้งด้านธุรกิจ การออกแบบบริการ (Design Thinking) ด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เเละด้านธุรกิจเเละเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ร่วมมือกับภาคีพันธมิตร ทั้งภาครัฐและเอกชน ลงพื้นที่เพื่อฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาศักยภาพธุรกิจและพัฒนาอัตลักษณ์ท้องถิ่น รวมถึงจัดทำต้นแบบบริการ ซึ่งเป็นการจับคู่ระหว่างผู้ประกอบการท้องถิ่นกับครีเอเตอร์ทั้งหมด 30 คู่ ร่วมกันพัฒนาธุรกิจและส่งเสริมรายได้กลับสู่ท้องถิ่น
นอกจากนี้ยังมีผลงานไฮไลต์จาก 5 คู่ธุรกิจของโครงการฯ ตอกย้ำความสำเร็จอันเกิดจากการผสานธุรกิจเข้ากับความคิดสร้างสรรค์ ในกลุ่มธุรกิจการท่องเที่ยว (Local Tourism) และการบริการ (Service) ได้แก่
1. ศรัณยา มงคลวิทย์ ผู้ประกอบการร้านเชลล์ไม่เคยชิม ร่วมกับครีเอเตอร์ กฤตวัฒน์ อรรถสิษฐ์โมเดลธุรกิจที่สร้างร่วมกัน : เมนูอาหารกินเล่นแบบ Ready to cook ทั้ง 2 เมนูใหม่ ได้แก่ ปอเปี๊ยะหมูแดง และ ปอเปี๊ยะหมูสะเต๊ะ จังหวัดนครปฐม
2. จิราพร ชยามหายันต์ ผู้ประกอบการบ้านสวนรีสอร์ทจุรีปันสุข ร่วมกับ ครีเอเตอร์ สาวิตรี บำรุง โมเดลธุรกิจที่สร้างร่วมกัน : Mu Suphan มูสุพรรณ ทริปสายมูในรูปแบบ 1 วันและ 2 วัน 1 คืน จังหวัดสุพรรณบุรี
3. ภูวิช บุญนาคกัลป์ยกร ผู้ประกอบการ I-Destiny Gallery Resort ร่วมกับ ครีเอเตอร์ วิสิทธิ์ ฐิติวรวิช จาก IMAKE Production โมเดลธุรกิจที่สร้างร่วมกัน : ทริปท่องเที่ยวเมืองพนัสนิคม Local Travel Hub by i-Destiny ทริปทัวร์สำหรับคนวัยเกษียณที่มีความสนใจในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและงานศิลปะ จังหวัดชลบุรี
4. เกศแก้ว ทองจรูญ ผู้ประกอบการ บ้านอยู่ดีมีความสุข ร่วมกับครีเอเตอร์ อัมพาวรรณ อินใจเอื้อโมเดลธุรกิจที่สร้างร่วมกัน : เที่ยวทั้งปีที่สีชัง ธุรกิจที่พักในรูปแบบ Eco-Friendly เสริมด้วยแพ็กเกจการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคม (Responsible Tourism) บนเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี
5. จารุเนตร ศรีชู ผู้ประกอบการ วิสาหกิจชุมชนตาลโตนด โหนด นา เล ร่วมกับครีเอเตอร์ อพิเชษฐ์ สุขแก้ว โมเดลธุรกิจที่สร้างร่วมกัน :THAHIN Adventures แพ็กเกจทริป 2 วัน 1 คืน ท่องเที่ยว โหนด-นา-เล วิถีชุมชนบ้านท่าหิน จังหวัดสงขลา
โครงการได้ส่งเสริมด้านทุนวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Cultural Asset) การท่องเที่ยว การบริการ ดนตรีและอาหาร โดยกำหนดจังหวัดเป้าหมายที่โดดเด่น 5 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ นครปฐม สุพรรณบุรี ชลบุรี เเละสงขลา ซึ่งเป็นจังหวัดภายใต้เครือข่ายย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ประเทศไทย หรือ Thailand Creative District Network (TCDN) โดยมุ่งเน้นผู้ประกอบการท้องถิ่นที่ดำเนินธุรกิจใน 4 สาขา ได้แก่ การบริการ (Service), การท่องเที่ยว (Local Tourism), ด้านศิลปะ (Art) และด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น (Local Culture) และครีเอเตอร์ที่มีความเชี่ยวชาญใน 4 สาขา ได้แก่ ดนตรี (Music), ศิลปะการแสดง (Performing Art), คอนเทนต์ภาพเคลื่อนไหวและเสียง (Video & Audio Content) และแพลตฟอร์มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์ (Content & Media Platform) มาจับคู่เพื่อสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ พร้อมได้รับทุนสนับสนุนในการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดขึ้นจริง และโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจกับภาครัฐและเอกชนจากเครือข่ายของ CEAร่วมชมการจัดแสดงผลงานของทั้ง 30 คู่ธุรกิจ ที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ พลิกธุรกิจให้มีมูลค่าเพิ่ม และดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งเสริมให้เกิด Soft Power ของท้องถิ่นไทยให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก พร้อมอุดหนุนผลงานจากโครงการฯ ได้ที่งาน “ไทย เที่ยว ไทย ครั้งที่ 67” ชั้น LG โซน G บูธหมายเลข G35-G37 (Exhibition Hall 5-6) ศูนย์การประชุมเเห่งชาติสิริกิติ์ ระหว่างวันที่ 24 - 27 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 - 21.00 น.
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น