โรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ตอบโจทย์การให้บริการด้านการแพทย์อย่างครอบคลุมทุกมิติ สำหรับประชาชนในชุมชนย่าน ลาดพร้าว-โชคชัย 4-วังหิน และรัชดา เป็นเวลานานกว่า 4 ทศวรรษ โดยโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 ได้เปิดให้บริการด้านการแพทย์ ดูแลผู้ป่วย ตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ตราบจนถึงรุ่นลูกหลานในปัจจุบัน โดยในวันนี้ ( 26 กรกฎาคม 2565 ) ได้มีพิธีเปิดตัวอาคารใหม่ของโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 โดยมีคณะผู้บริหาร บุคลากรระดับสูงร่วมให้ข้อมูลการบริการและนวัตกรรมใหม่ๆของทางโรงพยาบาล นำโดยนาย อิทธิ ทองแตง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มโรงพยาบาล พญาไท - เปาโล
นายอิทธิ ทองแตง รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโส กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท- เปาโล เปิดเผยว่า ‘Customer Centric’ คือนโยบายของโรงพยาบาลเปาโล โชคชัย 4 มีจุดยืนที่จะเป็นโรงพยาบาลที่มีความชำนาญ ด้านการรักษาตั้งแต่โรคทั่วไปจนถึงโรคที่ ซับซ้อน เพื่อตอบสนองทุกความต้องการของคนในชุมชนโดยรอบโรงพยาบาล อันนำมาสู่การเติบโตทางธุรกิจด้านสุขภาพอย่างยั่งยืน และนี่คือความภาคภูมิใจของ โรงพยาบาลเปาโลโชคชัย4 ตลอดกว่า 40 ปีที่ให้บริการประชาชนตลอดมา
นายอิทธิ กล่าวต่อถึงการเปิดตึกใหม่ครั้งนี้ด้วยว่า การเจริญเติบโตของรพ.เปาโล โชคชัยสี่ ตลอดยี่สิบปีหลังนี้ มีตึกใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอด ไม่ว่าจะเป็นตึกแม่และเด็กเป็นต้น เราเห็นถึงความต้องการของคนในชุมชนที่มากขึ้น รวมถึงวิวัฒนาการทางการแพทย์ก็พัฒนาขึ้นมามากตามประชากรที่เพิ่มขึ้น อย่างเครื่องมือต่าง ๆ ที่เห็นก็เป็นอุปกรณ์ใหม่ๆ ที่บางอย่างไม่เคยมีมาก่อนก็นำเข้ามาใช้ เพื่อให้การดูแลประชาชนได้ดีที่สุด ตึกนี้จะรวมทั้งหมดและจะสอดคล้องกับกลุ่มในโรงพยาบาลที่เราสร้างขึ้นมา
การเพิ่มขีดจำกัดในการผ่าตัดด้วยนวัตกรรมเครื่องมือที่ทันสมัย นายอิทธิกล่าวว่า หมอเองก็เรียนบนขีดความจำกัดที่มากขึ้น เครื่องไม้เครื่องมือดีขึ้น ทำให้สามารถดูแลคนไข้ในหลายๆเคสที่ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดใหญ่ ทำได้ดีขึ้น แทนที่ด้วยการผ่าตัดเล็กจะช่วยเรื่องค่าใช้จ่าย การใช้เวลาในการรักษาตัวน้อยลง หายเร็วขึ้น จริงๆ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่การที่มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ดีขึ้น และหมอที่มีการพัฒนาที่มากขึ้น เราเลือกทีมหมอที่ดีที่สุดเข้ามาเพื่อให้ตอบโจทย์ความเป็นโรงพยาบาลที่จะดูแลได้ครอบคลุมจริงๆ
เป็นโรงพยาบาลที่ดูแลได้ทุกสาขาวิชา แต่กลุ่มของโรงพยาบาลเปาโล พญาไท หรือแม้แต่... การที่เราอยู่ภายใต้การดูแลของ BDMS ก็ทำให้เราสามารถส่งต่อหมอตามเคส หากเคสไหนยากจริงๆ ก็จะมีการส่งต่อไปตามนั้นที่เราได้วางไว้ ก็จะช่วยให้กลุ่มรพ.นี้ตอบโจทย์และรักษาคนไข้ได้ทุกระดับจริงๆ
ด้านผลกระทบต่อธุรกิจโรงพยาบาลในช่วงวิกฤตโควิด นายอิทธิ กล่าวว่า ช่วงแพนิคโควิด ปีแรกๆ เป็นสิ่งที่ไม่มีใคร expect ก็จะดร็อปไปช่วงปีแรก โดยธุรกิจโรงพยาบาล เราไม่เคยวางตัวเองว่า เป็นรพ.เอกชนที่ทำรายได้หรือกำไรมากที่สุด จะให้ตอบเหมือนสิบปีก่อนซึ่งกำไรอยู่ที่สิบเปอร์เซ็นต์ก็ไม่ได้ แต่ว่าต้องเพิ่มขีดความสามารถของตนเองขึ้นไปเรื่อย ๆ ก็ต้องมีการใช้เงินเพื่อการดูแลกลุ่มบุคลากร หมอ พยาบาล เครื่องมือด้วย ในภาพรวมของธุรกิจเองไม่ใช่ว่าเรากำไรมากขึ้น แต่โดยปริมาณอาจจะเพิ่มขึ้น
ด้านภาพรวมการเติบโต ผู้บริหารกลุ่มรพ.เปาโล พญาไท กล่าวว่า จริงๆแล้วถ้าถามผมในภาพรวมของโรงพยาบาลในกรุงเทพฯ เอง ค่อนข้างเพียงพอแล้วสำหรับเตียง แต่ขาดคือหัวเมืองที่ห่างออกไป ก็อาจจะต้องมีรพ.ที่เติมเต็ม แต่ว่า เรามองว่าจะมีการเติบโตตามจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น กลุ่มเราจะมีดูแลประกันสังคมด้วย ไปจนถึงประกันสังคมและรพ.พญาไทก็จะดูแลไปอีกกลุ่มหนึ่ง จะตอบโจทย์ซึ่งกันและกัน
ด้านแพลนการขยายโรงพยาบาลไปตามหัวเมืองนั้น ในกลุ่มของ BDMS ก็คงมีแต่เรายังไม่ได้เจาะจงว่าจะเป็นที่ไหน
สำหรับวิกฤติโควิดที่มาเป็นระลอก นายอิทธิ กล่าวว่า ขอมองจากมุมมองหมอละกันว่า ตอนนี้โรคนี้เราก็คงจะต้องอยู่กับมัน แต่หลายคนก็คงต้องเรียนรู้และอยู่กับโรคนี้ ต้องดูแลตัวเองให้ดีที่สุด เป็นวิธีการที่ต้องดูแลตัวเอง แต่จะเป็นการพลิกวิกฤติเป็นโอกาสหรือไม่นั้น ต้องบอกว่า ช่วงโควิดเป็นช่วงที่เนื่องจากว่าคนไข้เข้ามารพ.น้อย เคสที่เข้ามาเป็นเคสยากๆ เรื่องนวัตกรรมในการป้องกันตัวเองจากโควิดเยอะมาก
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น