โรคหัวใจกับ COVID- 19


โรคหัวใจพบว่าเป็นสาเหตุการเสียชีวิตลำดับต้นๆ ในประชากรทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย และพบมากขึ้นต่อเนื่อง ทุก ๆ ปี โดยในประเทศไทย พบว่า เสียชีวิตจากโรคหัวใจติดอันดับ 1 /3 มาตลอดและจากข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ก็พบว่า คนไทยป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่า 400,000 คน/ ปีและมีอัตราการเสียชีวิต มากกว่า 20,000 คน / ปี หรือประมาณ 2 คน / ชั่วโมง  คนไข้โรคหัวใจ หรือคนปกติทั่วๆ ไป เมื่อเกิดการติดเชื้อ ร่างกายจะตอบสนอง เช่น มีไข้สูง มีการสร้างสารจากเซลล์ต่างๆ ในระบบภูมิคุ้มกันออกมา เพื่อต่อสู้กับไวรัส จนอวัยวะในร่างกายเกิดการอักเสบมากขึ้น คนที่เป็นโรคหัวใจ
ซึ่งกล้ามเนื้อหัวใจมักจะมีการบีบตัวที่ผิดปกติอยู่แล้ว หากมีการติดเชื้อรุนแรงจะทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจแย่ลงอย่างรวดเร็ว จนเกิดหัวใจล้มเหลวได้ และพบว่า ถ้ามีการติดเชื้อ COVID - 19 ร่วมด้วย คนไข้กลุ่มนี้จะมีอัตราการเสียชีวิต อัตราการใช้เครื่องช่วยหายใจ การต้องเข้ารักษาตัวใน ICU มากกว่าคนที่ไม่เป็นโรคหัวใจ
โดยพบอัตราการเสียชีวิตจาก COVID - 19 ในคนไข้ที่เป็นโรคหัวใจ มากถึง 13% และพบว่าผู้เสียชีวิตจาก COVID- 19 จะมีโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองร่วมด้วย ถึง 40% และยังพบภาวะทางระบบหัวใจล้มเหลวมากขึ้น ในขณะติดเชื้อCOVID - 19 อีกด้วย เช่น

• พบหัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น 17%

• พบภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้น 20%

• พบภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ประมาณ 7% - 20%

• พบเส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้น ประมาณ 10%

• พบภาวะลิ่มเลือดในส่วนต่างๆ ของร่างกายเพิ่มขึ้น

โดยกลไกเชื่อว่าเกิดจาก COVID - 19 มีผลกระตุ้นระบบภูมิต้านทานในร่างกาย และมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจ

(Cytokine Related Myocardial Dysfunction)

นอกจากนี้ COVID - 19 ยังมีผลทำให้เกิด Microhrombi จาก Systemic Inflammation or Cytokine Storm เกิด Plaque rupture หลอดเลือดหัวใจหดรัดเกร็ง และในระยะยาว หลังติดเชื้อ COVID - 19 แล้วและหายแล้วยังพบภาวะหัวใจต้นผิดจังหวะได้ เส้นเลือดหัวใจตีบได้ ประมาณ 10% หัวใจล้มเหลวเรื้อรัง ประมาณ 5%พบภาวะ Sudden Cardiac Death ได้
ในส่วนของผู้ที่ไม่มีโรคประจำตัวมาก่อน เมื่อติดเชื้อ COVID - 19 ก็พบมีรายงานกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากไวรัสได้ ทำให้หัวใจบีบตัวแย่ลง มีผลให้น้ำท่วมปอดตามมา นอกจากนี้ การใช้ยารักษา COVID - 19 เอง ก็มีรายงานภาวะแทรกช้อน เกี่ยวกับหัวใจได้เช่นกัน เช่น การนำกระแสไฟฟ้าที่หัวใจผิดปกติ (QT - Prolongation) ส่งผลให้มีโอกาสเสียชีวิตได้

คำถามที่พบบ่อยเมื่อต้องฉีควัคซีน COVID- 19

1. เป็นโรคหัวใจฉีควัคซีนได้ไหม

- จำเป็นอย่างยิ่ง : ถ้าติดเชื้อ COVID - 19 จะมีภาวะเสียชีวิตมากกว่าคนไม่เป็นโรคหัวใจ 3 - 5 เท่า

-ไม่ว่าจะเป็นเส้นเลือดหัวใจตีบ น้ำท่วมปอด ใส่ขดลวด ลิ้นหัวใจรั่ว หรือ ตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ

ใส่เครื่องกระตุ้น เคยผ่าตัดหัวใจ ฯลฯ ก็สามารถฉีดได้

2. กินยาต้านเกล็ดเลือด ASA Clopidogrel Ticagrelor Prasugrel หรือ ยาละลายลิ่มเลือด Dabigatran

Apixaban ฉีควัดซีนได้ไหม

- ฉีดได้เลย ไม่ต้องหยุดยา แค่แจ้งพยาบาลก่อนฉีดยา จะได้ใช้เข็มเบอร์เล็กลง กดให้นานขึ้น

3. กิน Warfarin ต้องหยุดยาก่อนฉีดวัดซีนไหม

-ให้เช็ค INR ก่อน ถ้า INR <4.0 ฉีดได้เลย

4. เพิ่งทำ บอลลูนหัวใจไปเมื่อวาน / เพิ่งออกจาก ICU ฉีดวัดซีนได้ไหม

- แนะนำให้โรคสงบก่อนและปรึกษาแพทย์เฉพาะทางหัวใจก่อน

5. ความดันโลหิตสูง ต้องทำอะไรก่อนฉีดยาไหม

-ให้ทานยาตามปกติ ถ้าความดัน < 160 mmHg ให้ฉีดยาได้

6. วันที่มาฉีควัคซีน ให้เตรียมตัวอย่างไรบ้าง

-พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหาร ยาประจำตัวตามปกติ

- งดชา / กาแฟ / บุหรี่ ก่อนฉีดวัคซีน > 2 ชั่วโมง

- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ 


ความคิดเห็น