รมว.วัฒนธรรม เปิด “TMF Power Fusion กองทุนสร้างสรรค์สื่อ สื่อสร้างสรรค์สังคม” ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ครั้งที่ 4 ภาคตะวันออก
นายอิทธิพล คุณปลื้ม เผยว่า “ผมรู้สึกยินดีและเป็นเกียรติที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้จัดเวทีนี้ขึ้น ในสังคมปัจจุบันสิ่งสำคัญคือเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้สื่อมีชีวิตอยู่ในชีวิตประจำวันของเรา วันนี้จึงได้มีการเปิดเวทีเพื่อให้ทุกเครือข่ายได้มีส่วนร่วม ทั้งรับฟัง ความคิดเห็น เป็นกลไกที่สร้างสื่อนิเวศที่ดี เพราะสื่อมีทั้งดีและไม่ดี เราต้องสร้างสื่อที่ดีเพื่อไปละลายสื่อที่เสีย เราต้องให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อก่อน ต้องวิเคราะห์และเท่าทัน ปีสองปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าเราประสบปัญหาข่าวปลอม จากสื่อที่ไม่สร้างสรรค์ทำให้เกิดผลกระทบ โดยเฉพาะการจัดทำสื่อที่มีวัตถุประสงค์ในการจุดกระแส อยากเด่นอยากดัง อยากให้เป็นกระแส สุดท้ายคือเกิดการติดตามสื่อจากมวลชน
รศ.ดร. พนา ทองมีอาคม “ยินดีที่มามีส่วนร่วม ถ้าไม่มีคนมาร่วมกับเรา ลำพังกำลังของเราเอง จะไม่สำเร็จและลุล่วงได้ เพราะยุคปัจจุบันการทำอะไรต้องอาศัยการมีส่วนร่วมเป็นสำคัญ เช่น ร่วมขอทุน ร่วมให้ความคิดเห็น ทำให้งานของเราดีขึ้น ร่วมให้ข้อมูล และร่วมกันวางแผน ร่วมกันถาม สำหรับผู้สนใจก็อยากให้มาร่วมกิจกรรมในช่วงบ่ายจะได้ได้ทราบว่า จะได้ทุนได้อย่างไร”
สำหรับกิจกรรมช่วงบ่าย มีการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ ประชุมระดมสมอง โดยแยก เป็น “เฝ้าระวังสื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ และ การรู้เท่าทันสื่อ” “การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ การเรียนรู้ (Media Lab)” และ “อบรมเชิงปฏิบัติการ จัดทำฐานข้อมูลเครือข่ายการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และด้านการรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล สำหรับทุกกลุ่มประชากร”
การเสวนาหัวข้อ “TMF Power Fusion” ซึ่ง นางสาวลัดดา ตั้งสุภาชัย “สื่อที่สร้างสรรค์ที่จริงทุกท่านพูดไปหมดแล้ว ขอพูดถึงสาเหตุที่สื่อที่ไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ขยายวงกว้างเพราะสังคมโลกเปลี่ยนแปลง การเข้าถึงของคนก็รวดเร็ว ถ้าเข้าอย่างปลอดภัยก็จะเป็นคุณ แต่ถ้าเข้าถึงไม่ปลอดภัยก็จะเป็นลบทันที ตอนนี้เด็กเขาเชื่อในสิ่งที่ถูกตอกย้ำ เชื่อในสิ่งที่เขาหาอ่าน ก็เป็นหน้าที่ของพ่อแม่ คุณครูที่ต้องเฝ้าระวัง ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง วัฒนธรรม ที่มีการสอนสั่งในประเพณีที่ดีงาม ถ้าเราไม่ทำตามก็จะเกิดวิกฤตแน่นอน ในเรื่องของสื่อต่าง ๆ ก็จะมีผลกระทบทางบวกและลบ บวกคือมีการพัฒนามีวิถีชีวิตที่ดีงามตามประเพณี แต่ในเชิงลบ คือภาษา เพศ ความรุนแรง เรื่องของชาติ เรื่องการเสพสุราและยาเสพติด เพราะสิ่งเหล่านี้เขาสามารถเรียนรู้ได้ทางออนไลน์ ซึ่งแต่ก่อนจะเรียนรู้จากญาติผู้ใหญ่ การที่คิดไวแล้วนิ้วลั่นนั้น เราต้องทำเป็นนิ้วล็อก คิดไว้เสมอว่าการที่มีวิถีชีวิตที่เร็ว ทำให้นำพาสิ่งที่ไม่เหมาะสม
ส่วนเรื่องการขอทุนนั้น ในแต่ละทุนจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน หนึ่งคือ “เจ้าภาพ” กองทุนคือรัฐบาล สอง “เจ้ามือ” คือเรา สาม “เจ้าของ” คือประชาชนทั่วไป ต้องอยู่ในหลักดีงาม และสร้างสรรค์ เราต้องเข้าใจว่ากองทุนนี้เป็นกองทุนให้เปล่า แต่ต้องส่งประโยชน์ให้เกิดกับสังคมและบ้านเมือง ให้เข้าถึงสถานการณ์บ้านเมืองในเชิงบวก ต้องมีความปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นเรื่องนวัตกรรม กองทุนนี้เป็นของประชาชน และให้ประโยชน์แก่ประชาชนได้แน่ ๆ”
ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ได้ร่วมพูดคุยในหัวข้อ “การบูรณาการแผนพัฒนาด้านการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ระยะที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๖๓ - ๒๕๖๕)” มีใจความว่า
“สื่อเป็นตัวกลางต้องให้ความรู้ ความจริง ให้การศึกษา ต้องถ่ายทอดเพลงชาติ ความเป็นมรดกค่านิยมที่ดีงามในสังคม ตอนนั้นสื่อโทรทัศน์เรามีความสำคัญ ถ้าเรารับสื่อแบบไหนบ่อยๆ สื่อจึงถูกมองว่าถ้าจะขับเคลื่อนสังคม ผ่านมิติทางวัฒนธรรมต้องเริ่มต้นที่สื่อ และชื่อกองทุน กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ นำเสนอความหมาย 2 ความหมายคือ ความหมายโดยตรง และความหมายแฝง คือมีปลอดภัยและสร้างสรรค์ ก็มีไม่ปลอดภัยและไม่สร้างสรรค์ ถ้าวันนี้สื่อไม่ดี สื่อไม่สร้างสรรค์เต็มไปหมด สื่อก็อยู่ยาก”
ด้านเวที TMF Power Fusion กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จะสัญจรครั้งที่ 5 วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมกิจกรรม ฟรี !!! https://tmfpowerfusion.com/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น