มรภ.วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดกิจกรรม “ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอคลองหลวง ” ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน เรียนรู้ วิถีเกษตรตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย ผศ.ดร.สุพจน์ ทรายแก้ว อธิการบดี (มรภ.วไลยอลงกรณ์ฯ) และ ผศ.ดร. ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ) พร้อมทั้ง ผศ.ละเอียด ขจรภัย (อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์) จับมือผู้นำชุมชนในอำเภอคลองหลวง ปลุกกระแสท่องเที่ยวชุมชนอย่างยั่งยืน เปิดตัวโครงการ ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ภายใต้แคมเปญ
“ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอคลองหลวง ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชน การเรียนรู้วิถีเกษตรพอเพียง อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในชุมชน โดยมี 3 ชุมชนต้นแบบ ใน อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี ได้แก่ คลอง 3 คลอง 5 และ คลอง 6
โดยเส้นทางการท่องเที่ยวจะเริ่มต้นที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองสาม ชม การสาธิตการทำ
เดโคพลาส แล้วมาต่อกันด้วย สวนเกษตรอินทรีย์ คลองห้า (สวนผักลุงผู้ใหญ่) เรียนรู้การเตรียมดินเพื่อปลูกผักสลัด การทำแปลงปลูกผักยกพื้น พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน ที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นและผักปลอดสารพิษที่ปลูกเอง จากนั้นมา เรียนทำพิชซาจากเห็ดนางฟ้าภูฐาน ที่ กลุ่มสัมมาชีพตำบลคลองหก แล้วต่อด้วย เรียนรู้การปลูกบัว และชมการสาธิตการทำบัวในโหลแก้ว ที่ ศูนย์เรียนรู้บัว ตำบลคลองห้า จากนั้นมาสัมผัสกับการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ชมการสาธิตการทำหมี่กรอบ และช้อปสุดฟิน กับของฝากชุมชนติดไม้ ติดมือกลับบ้านกันแบบจุใจ ที่จุดกระจายสินค้าชุมชน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองห้า
สำหรับโครง “ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอคลองหลวง ” เริ่มเปิดจองให้ผู้ที่สนใจได้สัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่เชิง วิถีเกษตรพอเพียงแล้ว วันนี้ ท่านผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ คุณนิตยา ทิพาพงษ์ผกาพัน (คุณนิด) โทร.081-734-9955 การท่องเที่ยวชุมชนมีทั้งแบบ 1 วัน และ 2 วัน 1 คืน การส่งเสริมการท่องเที่ยวในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมรายได้เข้าสู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง นับเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และเข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งส่งเสริมรายได้เข้าสู่ชุมชนผ่านนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ในแต่ละชุมชนยังสามารถสืบสานภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนที่มีเอกลักษณ์ สืบทอดต่อไป อย่างยั่งยืนได้อีกด้วย
ผศ.ดร. ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ) และผศ.ละเอียด ขจรภัย (อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์) กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดโครงการนี้ ต้องการสร้างการรับรู้และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับชุมชนต่างๆ ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อย่างยั่งยืน และยังดำเนินตามแนวทางการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบวิถีคนท้องถิ่น ของท่านอธิการบดี อีกด้วย ที่ท่านมุ่งเน้นและทำงานร่วมกันมาโดยตลอด และเพื่อเป็นการตอกย้ำวัตถุประสงค์นี้ เราจึงได้จัดโครงการ “ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอคลองหลวง ” ขึ้น โดยในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มครอบครัว โดยแต่ละกลุ่มจะมีจุดเด่น หรือพฤติกรรมที่ทั้งแตกต่าง และคล้ายกันคือ ทุกคนต่างอยากมีสุขภาพที่ดีทั้งตนเองและครอบครัว อยากบริโภคอาหารปลอดภัย และอยากสัมผัสเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างแท้จริง พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มคุณค่าของการไปท่องเที่ยว ที่เราได้เที่ยว ชุมชนมีรายได้ ภูมิปัญญาในท้องถิ่นถูกสืบสารต่อไป อย่างยั่งยืน
“ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอคลองหลวง ” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้เกิดการท่องเที่ยวในชุมชน การเรียนรู้วิถีเกษตรพอเพียง อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และเพิ่มการจับจ่ายใช้สอยในชุมชน โดยมี 3 ชุมชนต้นแบบ ใน อำเภอคลองหลวง จังหวัด ปทุมธานี ได้แก่ คลอง 3 คลอง 5 และ คลอง 6
โดยเส้นทางการท่องเที่ยวจะเริ่มต้นที่ ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองสาม ชม การสาธิตการทำ
เดโคพลาส แล้วมาต่อกันด้วย สวนเกษตรอินทรีย์ คลองห้า (สวนผักลุงผู้ใหญ่) เรียนรู้การเตรียมดินเพื่อปลูกผักสลัด การทำแปลงปลูกผักยกพื้น พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน ที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นและผักปลอดสารพิษที่ปลูกเอง จากนั้นมา เรียนทำพิชซาจากเห็ดนางฟ้าภูฐาน ที่ กลุ่มสัมมาชีพตำบลคลองหก แล้วต่อด้วย เรียนรู้การปลูกบัว และชมการสาธิตการทำบัวในโหลแก้ว ที่ ศูนย์เรียนรู้บัว ตำบลคลองห้า จากนั้นมาสัมผัสกับการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ชมการสาธิตการทำหมี่กรอบ และช้อปสุดฟิน กับของฝากชุมชนติดไม้ ติดมือกลับบ้านกันแบบจุใจ ที่จุดกระจายสินค้าชุมชน ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงบ้านคลองห้า
สำหรับโครง “ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอคลองหลวง ” เริ่มเปิดจองให้ผู้ที่สนใจได้สัมผัสประสบการณ์แปลกใหม่เชิง วิถีเกษตรพอเพียงแล้ว วันนี้ ท่านผู้ที่สนใจติดต่อได้ที่ คุณนิตยา ทิพาพงษ์ผกาพัน (คุณนิด) โทร.081-734-9955 การท่องเที่ยวชุมชนมีทั้งแบบ 1 วัน และ 2 วัน 1 คืน การส่งเสริมการท่องเที่ยวในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมรายได้เข้าสู่ชุมชนอีกทางหนึ่ง นับเป็นการเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เรียนรู้และเข้ามาสัมผัสวิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างแท้จริง รวมทั้งส่งเสริมรายได้เข้าสู่ชุมชนผ่านนักท่องเที่ยว นอกจากนี้ในแต่ละชุมชนยังสามารถสืบสานภูมิปัญญาในท้องถิ่นของตนที่มีเอกลักษณ์ สืบทอดต่อไป อย่างยั่งยืนได้อีกด้วย
ผศ.ดร. ภิญญาพัชญ์ นาคภิบาล (อาจารย์ประจำสาขาวิชาการบริหารธุรกิจ) และผศ.ละเอียด ขจรภัย (อาจารย์ประจำสาขาวิชานิเทศศาสตร์) กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดโครงการนี้ ต้องการสร้างการรับรู้และเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวให้กับชุมชนต่างๆ ในอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี อย่างยั่งยืน และยังดำเนินตามแนวทางการส่งเสริมให้มีการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์แบบวิถีคนท้องถิ่น ของท่านอธิการบดี อีกด้วย ที่ท่านมุ่งเน้นและทำงานร่วมกันมาโดยตลอด และเพื่อเป็นการตอกย้ำวัตถุประสงค์นี้ เราจึงได้จัดโครงการ “ ท่องเที่ยวชุมชน อำเภอคลองหลวง ” ขึ้น โดยในครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมให้กลุ่มนักท่องเที่ยวทั้ง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มครอบครัว โดยแต่ละกลุ่มจะมีจุดเด่น หรือพฤติกรรมที่ทั้งแตกต่าง และคล้ายกันคือ ทุกคนต่างอยากมีสุขภาพที่ดีทั้งตนเองและครอบครัว อยากบริโภคอาหารปลอดภัย และอยากสัมผัสเรียนรู้วิถีชีวิตของคนในชุมชนอย่างแท้จริง พร้อมทั้งเป็นการเพิ่มคุณค่าของการไปท่องเที่ยว ที่เราได้เที่ยว ชุมชนมีรายได้ ภูมิปัญญาในท้องถิ่นถูกสืบสารต่อไป อย่างยั่งยืน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น