ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไวรัสโคโรน่า หรือโรคโควิด-19 ระบาดทั่วโลก ผู้คนเจ็บป่วย 6.69 ล้านคน ล้มตายเฉียด 4 แสนคน (สถิติ ณ วันที่ 5 มิ.ย.63) แต่ละรัฐบาลจำเป็นต้องมีมาตรการรับมือ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด การปิดประเทศ ล็อคดาวน์ ประกาศภาวะฉุกเฉิน การควบคุมพื้นที่ คือสิ่งที่ผู้นำประเทศต่างๆ เลือกใช้ ซึ่งนั่นย่อมหลีกเลี่ยงผลกระทบต่อการเดินทางของผู้คน และเศรษฐกิจไม่พ้น
ขณะเดียวกัน การดำเนินชีวิตประจำวัน ก็ต้องมีการป้องกันตัวเอง โดยวิธีเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่กลับจากนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด มีผู้คนรวมตัวกันจำนวนมาก หรือกักตัวดูอาการเมื่อเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง สัมผัสผู้มีภาวะเสี่ยง ผู้ติดเชื้อ
นั่นหมายความว่า การเก็บตัวอยู่ในบ้าน คือวิธีสร้างความปลอดภัยสูงสุด ทั้งในแง่ของการห่างไกลจากการรับเชื้อ และการแพร่ระบาดเชื้อต่อผู้อื่น หากเมื่อต้องอยู่กับบ้านเป็นเวลานานๆ ก็สร้างความเบื่อหน่ายให้กับทุกคน เนื่องจากไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมตามปกติได้
ดังเช่น ด.ช.จิรัฎฐ์ ชวชาติ (นะโม) วัย 12 ปี กับ ด.ช.กันต์ธีร์ ชวชาติ (โดเรม่อน) วัย 10 ปี 2 พี่น้องที่ ชื่นชอบเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาก คิดประดิษฐ์มาตั้งแต่เล็กๆ จน NECTECH เห็นความสามารถ มอบทุนให้ 2 ปีซ้อน และคว้าแชมป์ระดับประเทศมาได้ทั้งคู่ แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกรายการประกาศยกเลิก แถมโรงเรียนยังประกาศหยุดยาวหลายเดือน การจับเจ่าอยู่กับบ้าน หรือหมกมุ่นกับการเล่นเกม ไม่ใช่หนทางที่สองพี่น้องชื่นชอบ
คุณพ่อผู้มองการณ์ไกลอย่าง ไชยา ชวชาติ อดีตอาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จึงให้ลูกๆ ลงเรียนออนไลน์ วิชาการสร้างสรรค์เกม ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวโครงการพลเมืองไทยสู้ภัยวิกฤติ โดยสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สสส.) ประกาศให้ทุนสนับสนุน เด็กทั้งสองจึงขอรับทุนมาสร้างเกมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้กับผู้เล่น
น้องนะโม ซึ่งขณะนี้เรียนอยู่ชั้น ม.2 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ เจ้าของเกม Hygienic Care Game เล่าว่า เกมของเขาสอนเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 โดยมีโจทย์ให้ผู้เล่นต้องทำตาม เช่น ล้างมือก่อนกินข้าว เข้าบ้านเสร็จต้องเปลี่ยนชุด ทำความสะอาดร่างกาย หากทำผิด ผู้เล่นจะถูกเตือนให้เข้าไปทำในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อทำตามก็ถือว่าผ่านสามารถไปสู่ด่านต่อไปได้ เกมนี้เหมาะสำหรับเด็กประถมศึกษา มีความยาก-ง่ายพอประมาณ และเนื่องจากเกมเป็นแอนิเมชั่นแบบน่ารักๆ เด็กหลายคนจึงชอบ
“จริงๆ แล้วผมมีแข่งพัฒนาหุ่นยนต์ที่ออสเตรเลีย แต่เมื่อมีโควิด เขาก็เลยงด จึงหันมาสร้างเกมโดยจำลองชีวิตประจำวันของเด็กคนหนึ่งว่าต้องทำอะไรบ้างในช่วงแพร่ระบาด” น้องนะโม เล่าและว่า เขาใช้เวลาพัฒนาเกมนี้ถึง 2 เดือน
ด้าน น้องโดเรม่อน นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย บอกว่า เกมของเขา ชื่อ Physical Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางกายภาพ วิธีเล่นก็คือเลื่อนซ้าย-เลื่อนขวา กระโดดหลบเลี่ยงสิ่งกีดขวาง เป็นเกมผจญภัยโควิด เอาตัวรอดเมื่อออกจากบ้าน ต้องอยู่ให้ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเข้าใกล้กว่านี้จะตายทันที และต้องเก็บของ 10 อย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในยามเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น สบู่ล้างมือ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ถุงมือ ภาชนะบรรจุอาหาร เป็นต้น
“ผมออกแบบให้เล่นง่ายๆ มีการสะสมเหรียญ และรู้จักใช้สิ่งที่จำเป็นในช่วงโควิด พอทำเสร็จก็ลองให้เพื่อนๆ หลายคนเล่น เขาบอกสนุกดีครับ” น้องโดเรม่อน บอก
ขณะที่ อ.ไชย บิดาของน้องนะโม และน้องโดเรม่อน ย้ำว่า ไม่ได้ส่งเสริมให้ลูกเล่นเกม แต่เป็นธรรมชาติของเด็กยุคนี้ ทุกคนจะเป็นกันเองโดยพ่อแม่ไม่ได้สอน จริงๆ แล้วสิ่งที่ส่งเสริมให้ลูกตั้งแต่เด็ก คือทักษะการเขียนซอฟท์แวร์ เพราะมองว่าเป็นทักษะแห่งอนาคต โลกอนาคตต้องใช้ทักษะนี้ไปควบคุมทุกอย่าง แล้วสื่อส่วนใหญ่ที่สอนเด็กโปรแกรมมิ่ง จะทำผ่านเกม เหมือนเด็กเข้าไปเล่นเกม หากในเกมนั้นกลับแฝงไปด้วย ตรรกะของการเขียนโปรแกรม ว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร และใช้ตัวนั้นดึงเด็กเข้ามาเพื่อเรียนรู้ เราแค่มอนิเตอร์นิดหนึ่ง พอเริ่มเป็นสักระยะ เขาก็จะไปต่อด้วยตนเอง
ความจริงวิกฤตโควิดก็นับเป็นโอกาส เพราะเดิมลูกๆ จะหมกมุ่นกับการแข่งหุ่นยนต์ การพัฒนาความรู้เรื่องหุ่นยนต์ จนแข่งชนะในระดับประเทศ ก็ได้สิทธิไปแข่งที่ออสเตรเลียในช่วงเดือนนี้ แต่ลักษณะเหตุการณ์ทำให้ไม่ได้ไป จึงไม่อยากให้พวกเขาเสียใจ เพราะทั้งสองคนใฝ่ฝัน ทุ่มเทอย่างเต็มที่ เลยพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ ก็มาเจอการสอนออนไลน์สร้างสรรค์เกม และโครงการพลเมืองไทยสู้ภัยวิกฤติ ที่เด็กๆ ชอบ จึงมีโครงการต่อเนื่องมาถึงวันนี้
และที่น่าดีใจ คือขณะนี้ทั้งสองเกมกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ google play คาดว่าอีก 2 สัปดาห์น่าจะเปิดให้คอเกม ได้ดาวโหลดไปเล่นกันอย่างสนุกสนานแฝงสาระความรู้สู้โควิด-19
ขณะเดียวกัน การดำเนินชีวิตประจำวัน ก็ต้องมีการป้องกันตัวเอง โดยวิธีเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดร่างกายทุกครั้งที่กลับจากนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่แออัด มีผู้คนรวมตัวกันจำนวนมาก หรือกักตัวดูอาการเมื่อเข้าไปในพื้นที่เสี่ยง สัมผัสผู้มีภาวะเสี่ยง ผู้ติดเชื้อ
นั่นหมายความว่า การเก็บตัวอยู่ในบ้าน คือวิธีสร้างความปลอดภัยสูงสุด ทั้งในแง่ของการห่างไกลจากการรับเชื้อ และการแพร่ระบาดเชื้อต่อผู้อื่น หากเมื่อต้องอยู่กับบ้านเป็นเวลานานๆ ก็สร้างความเบื่อหน่ายให้กับทุกคน เนื่องจากไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมตามปกติได้
ดังเช่น ด.ช.จิรัฎฐ์ ชวชาติ (นะโม) วัย 12 ปี กับ ด.ช.กันต์ธีร์ ชวชาติ (โดเรม่อน) วัย 10 ปี 2 พี่น้องที่ ชื่นชอบเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาก คิดประดิษฐ์มาตั้งแต่เล็กๆ จน NECTECH เห็นความสามารถ มอบทุนให้ 2 ปีซ้อน และคว้าแชมป์ระดับประเทศมาได้ทั้งคู่ แต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ทุกรายการประกาศยกเลิก แถมโรงเรียนยังประกาศหยุดยาวหลายเดือน การจับเจ่าอยู่กับบ้าน หรือหมกมุ่นกับการเล่นเกม ไม่ใช่หนทางที่สองพี่น้องชื่นชอบ
คุณพ่อผู้มองการณ์ไกลอย่าง ไชยา ชวชาติ อดีตอาจารย์ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ จึงให้ลูกๆ ลงเรียนออนไลน์ วิชาการสร้างสรรค์เกม ประกอบกับช่วงเวลาดังกล่าวโครงการพลเมืองไทยสู้ภัยวิกฤติ โดยสำนักสร้างสรรค์โอกาสและนวัตกรรม (สสส.) ประกาศให้ทุนสนับสนุน เด็กทั้งสองจึงขอรับทุนมาสร้างเกมออนไลน์ เพื่อให้ความรู้กับผู้เล่น
น้องนะโม ซึ่งขณะนี้เรียนอยู่ชั้น ม.2 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ เจ้าของเกม Hygienic Care Game เล่าว่า เกมของเขาสอนเรื่องสุขอนามัย เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 โดยมีโจทย์ให้ผู้เล่นต้องทำตาม เช่น ล้างมือก่อนกินข้าว เข้าบ้านเสร็จต้องเปลี่ยนชุด ทำความสะอาดร่างกาย หากทำผิด ผู้เล่นจะถูกเตือนให้เข้าไปทำในสิ่งที่ถูกต้อง เมื่อทำตามก็ถือว่าผ่านสามารถไปสู่ด่านต่อไปได้ เกมนี้เหมาะสำหรับเด็กประถมศึกษา มีความยาก-ง่ายพอประมาณ และเนื่องจากเกมเป็นแอนิเมชั่นแบบน่ารักๆ เด็กหลายคนจึงชอบ
“จริงๆ แล้วผมมีแข่งพัฒนาหุ่นยนต์ที่ออสเตรเลีย แต่เมื่อมีโควิด เขาก็เลยงด จึงหันมาสร้างเกมโดยจำลองชีวิตประจำวันของเด็กคนหนึ่งว่าต้องทำอะไรบ้างในช่วงแพร่ระบาด” น้องนะโม เล่าและว่า เขาใช้เวลาพัฒนาเกมนี้ถึง 2 เดือน
ด้าน น้องโดเรม่อน นักเรียนชั้น ป.5 โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย บอกว่า เกมของเขา ชื่อ Physical Distancing หรือการเว้นระยะห่างทางกายภาพ วิธีเล่นก็คือเลื่อนซ้าย-เลื่อนขวา กระโดดหลบเลี่ยงสิ่งกีดขวาง เป็นเกมผจญภัยโควิด เอาตัวรอดเมื่อออกจากบ้าน ต้องอยู่ให้ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร ถ้าเข้าใกล้กว่านี้จะตายทันที และต้องเก็บของ 10 อย่างที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในยามเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น สบู่ล้างมือ เจลแอลกอฮอล์ หน้ากากอนามัย กระดาษทิชชู ถุงมือ ภาชนะบรรจุอาหาร เป็นต้น
“ผมออกแบบให้เล่นง่ายๆ มีการสะสมเหรียญ และรู้จักใช้สิ่งที่จำเป็นในช่วงโควิด พอทำเสร็จก็ลองให้เพื่อนๆ หลายคนเล่น เขาบอกสนุกดีครับ” น้องโดเรม่อน บอก
ขณะที่ อ.ไชย บิดาของน้องนะโม และน้องโดเรม่อน ย้ำว่า ไม่ได้ส่งเสริมให้ลูกเล่นเกม แต่เป็นธรรมชาติของเด็กยุคนี้ ทุกคนจะเป็นกันเองโดยพ่อแม่ไม่ได้สอน จริงๆ แล้วสิ่งที่ส่งเสริมให้ลูกตั้งแต่เด็ก คือทักษะการเขียนซอฟท์แวร์ เพราะมองว่าเป็นทักษะแห่งอนาคต โลกอนาคตต้องใช้ทักษะนี้ไปควบคุมทุกอย่าง แล้วสื่อส่วนใหญ่ที่สอนเด็กโปรแกรมมิ่ง จะทำผ่านเกม เหมือนเด็กเข้าไปเล่นเกม หากในเกมนั้นกลับแฝงไปด้วย ตรรกะของการเขียนโปรแกรม ว่าจะต้องทำอะไร อย่างไร และใช้ตัวนั้นดึงเด็กเข้ามาเพื่อเรียนรู้ เราแค่มอนิเตอร์นิดหนึ่ง พอเริ่มเป็นสักระยะ เขาก็จะไปต่อด้วยตนเอง
ความจริงวิกฤตโควิดก็นับเป็นโอกาส เพราะเดิมลูกๆ จะหมกมุ่นกับการแข่งหุ่นยนต์ การพัฒนาความรู้เรื่องหุ่นยนต์ จนแข่งชนะในระดับประเทศ ก็ได้สิทธิไปแข่งที่ออสเตรเลียในช่วงเดือนนี้ แต่ลักษณะเหตุการณ์ทำให้ไม่ได้ไป จึงไม่อยากให้พวกเขาเสียใจ เพราะทั้งสองคนใฝ่ฝัน ทุ่มเทอย่างเต็มที่ เลยพยายามเบี่ยงเบนความสนใจ ก็มาเจอการสอนออนไลน์สร้างสรรค์เกม และโครงการพลเมืองไทยสู้ภัยวิกฤติ ที่เด็กๆ ชอบ จึงมีโครงการต่อเนื่องมาถึงวันนี้
และที่น่าดีใจ คือขณะนี้ทั้งสองเกมกำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ google play คาดว่าอีก 2 สัปดาห์น่าจะเปิดให้คอเกม ได้ดาวโหลดไปเล่นกันอย่างสนุกสนานแฝงสาระความรู้สู้โควิด-19
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น