Node Flagship จ.ลำปาง จับมือ 5 อปท.ผนึกกำลังรณรงค์ลดการเผาในครัวเรือนและพื้นที่เกษตรหนุนยุทธศาสตร์แก้ปัญหาหมอกควัน ชูบ้านไร่พัฒนา ต.พิชัย ต้นแบบการจัดลดการเผาจนประสบผลสำเร็จ ตั้งเป้ารักษาป่ากลางเมืองให้เป็นปอดใหญ่และแหล่งอาหารให้ชุมชน ขณะที่สสส.พร้อมหนุนทุกชุมชนที่มีศักยภาพให้ทำงานสร้างเสริมสุขภาพ
หลังจากจังหวัดลำปาง โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดปัญหาหมอกควัน หรือ 3 ลดในปี 2563 ได้แก่ 1.ลดปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจให้เหลือร้อยละ 70 2.ลดจุดความร้อนสะสมหรือฮอตสปอทให้เหลือร้อยละ 50 และ 3.ลดการเผาในชุมชนทั้งในครัวเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร
น.ส.ศิริพร ปัญญาเสน หัวหน้าหน่วยจัดการระดับจังหวัดขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดลำปาง (Node Flagship) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ปัญหาหมอกควันถือเป็นปัญหาลำดับต้นๆ ของ จ.ลำปาง และเป็นยุทธศาสตร์หลักของทาง จ.ลำปางที่ต้องดำเนินการแก้ไข ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ Node Flagship จ.ลำปาง ขับเคลื่อนอยู่ในการร่วมรณรงค์ลดการเผาในชุมชนและพื้นที่ทางการเกษตร ดังนั้นการทำงานจึงเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน
น.ส.ศิริพร กล่าวต่อไปว่า ทาง Node Flaship ลำปางได้สนับสนุนประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2562 ใน 40 โครงการ ซึ่งการทำงานจะมุ่งเน้นการทำงานในพื้นที่ของผู้รับทุน อย่างไรก็ตามในปี 2563 ได้สนับสนุนพื้นที่รับทุนเหลือเพียง 25 โครงการ แต่จะเป็นการทำงานในวงกว้างมากขึ้น โดยจะเป็นการขยายขอบเขตพื้นที่การทำงานจากพื้นที่ขนาดเล็กให้ครอบคลุมพื้นที่ป่าทั้งชุมชน โดยเฉพาะรอบดอยพระบาท หรืออุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต ซึ่งเป็นป่ากลางเมือง และจะพัฒนาขยายผลการจัดการให้ครอบคลุมทั้ง 36 ชุมชนโดยรอบ ซึ่งจะทำให้ปัญหาหมอกควันได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ และคืนอากาศบริสุทธ์และเป็นแหล่งอาหารที่มั่นคงให้ชาวเมืองลำปาง
ขณะที่ นายเสถียรพงศ์ เครืออิ่นแก้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านไร่พัฒนา ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง เปิดเผยว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ได้สร้างผลกระทบทางสุขภาพให้กับชาวบ้านมาก โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ หน่วยงานราชการก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะผืนป่าของหมู่บ้านอยู่ห่างจากศูนย์ราชการเพียง 3 ก.ม. และห่างจากตัวเมืองไม่เกิน 5 ก.ม. ซึ่งอาจะเรียกได้ว่าเป็นป่ากลางเมืองก็ว่าได้ ยังไม่รวมถึงความเสียหายต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่ซบเซายามเกิดเหตุกินเวลาหลายเดือน
แม้จะมีกิจกรรมรณรงค์รักษาป่ากันทุกปี ช่วยกันปลูกต้นไม้ บวชป่า ทำฝายชะลอน้ำ รณรงค์ห้ามเผา พอที่จะได้ผลบ้าง แต่ไม่ครอบคลุมผืนป่าทั้งหมด เพราะดอยพระบาทมีชุมชนที่อาศัยโดยรอบมากถึง 36 ชุมชน ประกาศเขตป่าชุมชนไปแล้ว 20 ชุมชน และอีก 10 ชุมชนยังไม่ได้ประกาศเขตป่าชุมชน เช่นเดียวกับป่ามีขนาดกว้างใหญ่เข้าออกได้หลายทาง มีคนเข้ามาใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งจากคนในและคนนอกพื้นที่ การหยุดหมอกควัน ไฟป่า จึงไม่ประสบผลสำเร็จ ขณะที่แต่ละหมู่บ้านแต่ละหน่วยงานไม่เคยมาคุยกัน ต่างคนต่างทำ แผนจัดการไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน การแก้ปัญหาจึงเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
“เมื่อได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ สสส. ทำให้เรามีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน ว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ เมื่อทุกๆ ชุมชน ร่วมด้วยช่วยกันทำในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตัวเองอย่างเข้มแข็ง ผลที่ได้ก็จะเป็นวงกว้าง ส่งผลให้การแก้ปัญหาวิกฤตหมอกควันประสบผลสำเร็จได้และมีความยั่งยืนอย่างแน่นอน” ผู้ใหญ่เสถียรพงษ์ กล่าว
ทางด้าน ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า ปัญหาหมอกควัน ถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศและเกิดขึ้นทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ อีสาน หรือภาคกลาง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป เช่นภาคเหนือจะเกิดจากปัญหาไฟป่าและการเผาพื้นที่ทางการเกษตร ภาคอีสานก็จะเป็นการเผาในไร่อ้อยเป็นส่วนใหญ่ และภาคกลางก็จะเป็นเรื่องของยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรม
ทั้งนี้ปัญหาหมอกควันในภาคเหนือ จะมีความรุนแรงอย่างมากในช่วงมกราคม-เมษายนของแต่ละปี โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำปาง ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 เกินค่ามาตรฐานเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เพราะมีความรุนแรงและเกิดขึ้นหลายวันติดต่อกัน ดังนั้นจึงเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง ซึ่งทั่วโลกก็ยอมรับว่า PM2.5 ที่เกินค่ามาตรฐาน ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วย ผู้สูงวัย และเด็ก ดังนั้นหากสามารถลดปัญหานี้ได้ ก็จะสอดคล้องแนวทางในการพยายามสร้างเสริมเสริมสุขภาพ ตามเป้าหมายของ สสส.ที่อยากให้คนไทยสุขภาพดี
ทพ.ศิริเกียรติ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการส่งเสริมสุขภาพคนไทยผ่าน Node Flagship ว่า สสส.มีหน่วยจัดการพื้นที่ หรือ Node ที่ดูแลและกระจายงบประมาณสนับสนุนชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยง โดยสสส.พยายามสร้างกลไกในการค้นหาชุมชนที่มีความพร้อมอยากจะทำงาน ลดปัญหาและเสริมศักยภาพชุมชนโดยแกนนำของชุมชนนั้นๆ ซึ่งหน่วยจัดการพื้นที่แรกๆ จะมุ่งทำงานในประเด็นตามกำหนดไว้ แต่เมื่อทำงานได้ดีขึ้น มองเห็นปัญหาของจังหวัดในหลายๆ ด้าน และอาจจะไม่ตรงกับประเด็นที่สสส. สำนัก 6 ตั้งไว้ หน่วยจัดการพื้นที่นั้น ก็จะยกระดับให้เป็น Node Flagship สามารถนำเสนอปัญหาในประเด็นเฉพาะของตัวเองและสร้างกลไก และกระบวนการแก้ปัญหาเอง อย่างเช่น การใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม หรือ ปัญหาหมอกควันของจังหวัดลำปาง เมื่อมองว่าเป็นปัญหาต่อสุขภาพของคนทั้งจังหวัด ทาง Node Flagship ลำปาง ก็จะสามารถร่วมบูรณาการการทำงานกับส่วนต่างๆ ในพื้นที่ สร้างต้นแบบ ให้จังหวัดนำไปขยายผลต่อเพื่อลดปัญหาในระยะยาวได้
“เรามุ่งสนับสนุนการทำงานในพื้นที่จริง ถ้าเขาลดปัญหาได้ ก็จะมีโอกาสขยายผลต่อแน่นอน ซึ่ง สสส. ไม่ได้ตั้งเป้าในการกระจายทุนเชิงพื้นที่ แต่เรามุ่งส่งเสริมต้นแบบให้เห็นกระบวนการทำงาน เรียนรู้กลไกความร่วมมือ เข้าใจกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม และการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการและรูปแบบของพื้นที่ต้นแบบ หากจังหวัดไหนที่มีปัญหาเดียวกันก็สามารถมาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตัวเองได้” ผู้ช่วย ผจก.สสส. กล่าว
หลังจากจังหวัดลำปาง โดยผู้ว่าราชการจังหวัด นายณรงค์ศักดิ์ โอสถธนากร ได้กำหนดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดปัญหาหมอกควัน หรือ 3 ลดในปี 2563 ได้แก่ 1.ลดปัญหาสุขภาพระบบทางเดินหายใจให้เหลือร้อยละ 70 2.ลดจุดความร้อนสะสมหรือฮอตสปอทให้เหลือร้อยละ 50 และ 3.ลดการเผาในชุมชนทั้งในครัวเรือนและพื้นที่ทางการเกษตร
น.ส.ศิริพร ปัญญาเสน หัวหน้าหน่วยจัดการระดับจังหวัดขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์จังหวัดลำปาง (Node Flagship) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ปัญหาหมอกควันถือเป็นปัญหาลำดับต้นๆ ของ จ.ลำปาง และเป็นยุทธศาสตร์หลักของทาง จ.ลำปางที่ต้องดำเนินการแก้ไข ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมที่ Node Flagship จ.ลำปาง ขับเคลื่อนอยู่ในการร่วมรณรงค์ลดการเผาในชุมชนและพื้นที่ทางการเกษตร ดังนั้นการทำงานจึงเป็นการบูรณาการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน
น.ส.ศิริพร กล่าวต่อไปว่า ทาง Node Flaship ลำปางได้สนับสนุนประเด็นการจัดการทรัพยากรธรรมและสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่ปี 2562 ใน 40 โครงการ ซึ่งการทำงานจะมุ่งเน้นการทำงานในพื้นที่ของผู้รับทุน อย่างไรก็ตามในปี 2563 ได้สนับสนุนพื้นที่รับทุนเหลือเพียง 25 โครงการ แต่จะเป็นการทำงานในวงกว้างมากขึ้น โดยจะเป็นการขยายขอบเขตพื้นที่การทำงานจากพื้นที่ขนาดเล็กให้ครอบคลุมพื้นที่ป่าทั้งชุมชน โดยเฉพาะรอบดอยพระบาท หรืออุทยานแห่งชาติเขลางค์บรรพต ซึ่งเป็นป่ากลางเมือง และจะพัฒนาขยายผลการจัดการให้ครอบคลุมทั้ง 36 ชุมชนโดยรอบ ซึ่งจะทำให้ปัญหาหมอกควันได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ และคืนอากาศบริสุทธ์และเป็นแหล่งอาหารที่มั่นคงให้ชาวเมืองลำปาง
ขณะที่ นายเสถียรพงศ์ เครืออิ่นแก้ว ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 บ้านไร่พัฒนา ต.พิชัย อ.เมือง จ.ลำปาง เปิดเผยว่า ไฟป่าที่เกิดขึ้นในแต่ละปี ได้สร้างผลกระทบทางสุขภาพให้กับชาวบ้านมาก โดยเฉพาะระบบทางเดินหายใจ หน่วยงานราชการก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน เพราะผืนป่าของหมู่บ้านอยู่ห่างจากศูนย์ราชการเพียง 3 ก.ม. และห่างจากตัวเมืองไม่เกิน 5 ก.ม. ซึ่งอาจะเรียกได้ว่าเป็นป่ากลางเมืองก็ว่าได้ ยังไม่รวมถึงความเสียหายต่อการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจที่ซบเซายามเกิดเหตุกินเวลาหลายเดือน
แม้จะมีกิจกรรมรณรงค์รักษาป่ากันทุกปี ช่วยกันปลูกต้นไม้ บวชป่า ทำฝายชะลอน้ำ รณรงค์ห้ามเผา พอที่จะได้ผลบ้าง แต่ไม่ครอบคลุมผืนป่าทั้งหมด เพราะดอยพระบาทมีชุมชนที่อาศัยโดยรอบมากถึง 36 ชุมชน ประกาศเขตป่าชุมชนไปแล้ว 20 ชุมชน และอีก 10 ชุมชนยังไม่ได้ประกาศเขตป่าชุมชน เช่นเดียวกับป่ามีขนาดกว้างใหญ่เข้าออกได้หลายทาง มีคนเข้ามาใช้ประโยชน์หลากหลายทั้งจากคนในและคนนอกพื้นที่ การหยุดหมอกควัน ไฟป่า จึงไม่ประสบผลสำเร็จ ขณะที่แต่ละหมู่บ้านแต่ละหน่วยงานไม่เคยมาคุยกัน ต่างคนต่างทำ แผนจัดการไม่เป็นในทิศทางเดียวกัน การแก้ปัญหาจึงเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ
“เมื่อได้มีโอกาสทำงานร่วมกับ สสส. ทำให้เรามีแนวทางการทำงานที่ชัดเจน ว่าทำอย่างไรจึงจะแก้ปัญหาได้สำเร็จ เมื่อทุกๆ ชุมชน ร่วมด้วยช่วยกันทำในเขตพื้นที่รับผิดชอบของตัวเองอย่างเข้มแข็ง ผลที่ได้ก็จะเป็นวงกว้าง ส่งผลให้การแก้ปัญหาวิกฤตหมอกควันประสบผลสำเร็จได้และมีความยั่งยืนอย่างแน่นอน” ผู้ใหญ่เสถียรพงษ์ กล่าว
ทางด้าน ทพ.ศิริเกียรติ เหลียงกอบกิจ ผู้ช่วยผู้จัดการสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) กล่าวว่า ปัญหาหมอกควัน ถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับประเทศและเกิดขึ้นทุกภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ อีสาน หรือภาคกลาง ซึ่งอาจจะมีสาเหตุแตกต่างกันออกไป เช่นภาคเหนือจะเกิดจากปัญหาไฟป่าและการเผาพื้นที่ทางการเกษตร ภาคอีสานก็จะเป็นการเผาในไร่อ้อยเป็นส่วนใหญ่ และภาคกลางก็จะเป็นเรื่องของยานพาหนะและโรงงานอุตสาหกรรม
ทพ.ศิริเกียรติ ยังได้กล่าวถึงแนวทางการส่งเสริมสุขภาพคนไทยผ่าน Node Flagship ว่า สสส.มีหน่วยจัดการพื้นที่ หรือ Node ที่ดูแลและกระจายงบประมาณสนับสนุนชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพและลดปัจจัยเสี่ยง โดยสสส.พยายามสร้างกลไกในการค้นหาชุมชนที่มีความพร้อมอยากจะทำงาน ลดปัญหาและเสริมศักยภาพชุมชนโดยแกนนำของชุมชนนั้นๆ ซึ่งหน่วยจัดการพื้นที่แรกๆ จะมุ่งทำงานในประเด็นตามกำหนดไว้ แต่เมื่อทำงานได้ดีขึ้น มองเห็นปัญหาของจังหวัดในหลายๆ ด้าน และอาจจะไม่ตรงกับประเด็นที่สสส. สำนัก 6 ตั้งไว้ หน่วยจัดการพื้นที่นั้น ก็จะยกระดับให้เป็น Node Flagship สามารถนำเสนอปัญหาในประเด็นเฉพาะของตัวเองและสร้างกลไก และกระบวนการแก้ปัญหาเอง อย่างเช่น การใช้สารเคมีในภาคเกษตรกรรม หรือ ปัญหาหมอกควันของจังหวัดลำปาง เมื่อมองว่าเป็นปัญหาต่อสุขภาพของคนทั้งจังหวัด ทาง Node Flagship ลำปาง ก็จะสามารถร่วมบูรณาการการทำงานกับส่วนต่างๆ ในพื้นที่ สร้างต้นแบบ ให้จังหวัดนำไปขยายผลต่อเพื่อลดปัญหาในระยะยาวได้
“เรามุ่งสนับสนุนการทำงานในพื้นที่จริง ถ้าเขาลดปัญหาได้ ก็จะมีโอกาสขยายผลต่อแน่นอน ซึ่ง สสส. ไม่ได้ตั้งเป้าในการกระจายทุนเชิงพื้นที่ แต่เรามุ่งส่งเสริมต้นแบบให้เห็นกระบวนการทำงาน เรียนรู้กลไกความร่วมมือ เข้าใจกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วม และการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งวิธีการและรูปแบบของพื้นที่ต้นแบบ หากจังหวัดไหนที่มีปัญหาเดียวกันก็สามารถมาเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อนำไปใช้ในพื้นที่ของตัวเองได้” ผู้ช่วย ผจก.สสส. กล่าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น