ครบรอบ 12 Years Anniversary Endoscopic Spinal Surgery รพ.พญาไท 1 รพ.พญาไท 2 และ รพ.เปาโล พหลโยธินได้เปิดตัวนวัตกรรมการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้อง
เมื่อวันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 11.00 – 13.00 น.ณ ร้านอาหาร Siambrasseria พระราม 9 พญาไท เปาโล เมดิคอล แคมปัส ภายใต้ชื่อ PMC ประกอบด้วย รพ.พญาไท 1 รพ.พญาไท 2 และ รพ.เปาโล พหลโยธินได้เปิดตัวนวัตกรรมการผ่าตัดรักษาโรคกระดูกสันหลังผ่านกล้อง Endoscopic Spinal Surgery ซึ่งแผลมีขนาดเพียง 8 มิลลิเมตร ทำให้หลังผ่าตัดกลับมาเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง เพราะโรคที่มาจากโพรงกระดูกสันหลังตีบกดทับเส้นประสาท การกรอกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทออก โดยใช้กล้องขนาดเล็กทำให้ยากต่อการรักษา และต้องระวังไม่ให้บาดเจ็บต่อเส้นประสาทจึงจำเป็นต้องฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญการผ่าตัด ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี และหลีกเลี่ยงโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ จึงถือเป็นความสำเร็จในปัจจุบัน
การผ่าตัดส่องกล้องรักษาอาการปวดหลัง ภายใต้การนำทีมของ ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ ผู้อำนวยการสถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลกลุ่ม PMC ‘พญาไท เปาโล เมดิคอล แคมปัส’ กล่าวว่า สถาบันกระดูกและข้อ กลุ่ม PMC มีศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องอันดับต้นของประเทศไทย เป็นหนึ่งในแพทย์ที่เริ่มนำเทคโนโลยีการผ่าตัด Endoscopic Spinal Surgery มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยจนเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติด้วยประสบการณ์การรักษากว่า 12 ปี และผ่าตัดผู้ป่วยมาแล้วมากกว่า 1,000 รายจึงมั่นใจได้ว่าทีมแพทย์และบุคลากรมีความเข้าใจโรค วินิจฉัยแยกโรคได้อย่างแม่นยำ และเข้าใจทุกความกังวลของผู้ป่วยและญาติ การผ่าตัดแบบ “Endospine” (Endoscopic Spinal Surgery) นอกจากแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมากแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อโดยรอบน้อยมาก จึงไม่จำเป็นต้องมีการให้เลือด ทั้งยังลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว และสามารถกลับมาเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ผศ.นพ.พรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เผยว่า การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเทคโนโลยี Endospine (Endoscopic Spinal Surgery) นอกจากจะเป็นเทคนิคสำหรับรักษาโรคหมอนรองกระดูก การผ่าตัดมีอัตราความสำเร็จมากกว่า 95% และในส่วนของการผ่าตัดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบกดทับเส้นประสาท มีอัตราความสำเร็จมากกว่า 85%โดยมีอัตรา 5-10% อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการผ่าตัดเป็นวิธีแบบเปิดและดามเหล็ก อนึ่ง การผ่าตัดแบบนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบที่มีอายุมากและมีโรคประจำตัวร่วมด้วย ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัดแบบเปิดและดามเหล็ก การผ่าตัดกระดูกสันหลัง“Endospine” (Endoscopic Spinal Surgery) เป็นการผ่าตัดที่บาดเจ็บน้อย มีอุปกรณ์ถ่ายทอดภาพที่มีความคมชัดสูง อีกทั้งยังสามารถมองเห็นตำแหน่งพยาธิสภาพของโรคได้อย่างชัดเจน ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน การผ่าตัดแบบนี้จึงเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดี อนึ่ง การผ่าตัดกระดูกสันหลัง Endospine ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด และรู้จักเทคนิคการผ่าตัดแบบนี้เป็นอย่างดี เพื่อผลสำเร็จในการรักษาและแก้ไขอาการได้อย่างตรงจุด ช่วยให้คนไข้กลับมาเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติ และไม่ต้องทนทรมานกับอาการปวดหลังอย่างเดิมอีก
ประสบการณ์ และผลงานในการรักษาผู้ป่วย เป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ ที่ผ่านมา ผศ.นพ.พรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการในการจัดงาน Asia Congress of Minimally Invasive Spine Surgery Techniques ในปี 2016 และในปี 2017 ได้รับเชิญเป็น President World Congress of Minimally Invasive Spine Surgery Techniques และเป็นคณะกรรมการผู้ก่อตั้งการประชุม (Chairman & Founder) ในการประชุม ASEAN Minimally Invasive Spine Surgical Techniques ครั้งที่ 5 ในปี 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และยังเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ในงาน North American Spine Society (NASS) ซึ่งเป็นคนไทยคนเดียวและคนแรกที่ได้เข้าร่วมงาน อีกทั้ง ยังได้รับเกียรติเป็นคณะกรรมการร่วม (Co Chairman) ในงาน North American Spine Society (NASS) ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2020 อีกด้วย รวมถึงแพทย์ทุกคนล้วนประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยมาตลอดระยะเวลา 12 ปี
การผ่าตัดส่องกล้องรักษาอาการปวดหลัง ภายใต้การนำทีมของ ศ.นพ.ธไนนิธย์ โชตนภูติ ผู้อำนวยการสถาบันกระดูกและข้อ โรงพยาบาลกลุ่ม PMC ‘พญาไท เปาโล เมดิคอล แคมปัส’ กล่าวว่า สถาบันกระดูกและข้อ กลุ่ม PMC มีศัลยแพทย์ที่เชี่ยวชาญการผ่าตัดกระดูกสันหลังผ่านกล้องอันดับต้นของประเทศไทย เป็นหนึ่งในแพทย์ที่เริ่มนำเทคโนโลยีการผ่าตัด Endoscopic Spinal Surgery มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยจนเป็นที่ยอมรับจากนานาชาติด้วยประสบการณ์การรักษากว่า 12 ปี และผ่าตัดผู้ป่วยมาแล้วมากกว่า 1,000 รายจึงมั่นใจได้ว่าทีมแพทย์และบุคลากรมีความเข้าใจโรค วินิจฉัยแยกโรคได้อย่างแม่นยำ และเข้าใจทุกความกังวลของผู้ป่วยและญาติ การผ่าตัดแบบ “Endospine” (Endoscopic Spinal Surgery) นอกจากแผลผ่าตัดที่มีขนาดเล็กมากแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อกล้ามเนื้อโดยรอบน้อยมาก จึงไม่จำเป็นต้องมีการให้เลือด ทั้งยังลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว และสามารถกลับมาเดินได้ภายใน 24 ชั่วโมง
ผศ.นพ.พรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านการผ่าตัดกระดูกสันหลัง เผยว่า การผ่าตัดกระดูกสันหลังด้วยเทคโนโลยี Endospine (Endoscopic Spinal Surgery) นอกจากจะเป็นเทคนิคสำหรับรักษาโรคหมอนรองกระดูก การผ่าตัดมีอัตราความสำเร็จมากกว่า 95% และในส่วนของการผ่าตัดโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบกดทับเส้นประสาท มีอัตราความสำเร็จมากกว่า 85%โดยมีอัตรา 5-10% อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการผ่าตัดเป็นวิธีแบบเปิดและดามเหล็ก อนึ่ง การผ่าตัดแบบนี้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคโพรงกระดูกสันหลังตีบที่มีอายุมากและมีโรคประจำตัวร่วมด้วย ทำให้มีความเสี่ยงสูงในการผ่าตัดแบบเปิดและดามเหล็ก การผ่าตัดกระดูกสันหลัง“Endospine” (Endoscopic Spinal Surgery) เป็นการผ่าตัดที่บาดเจ็บน้อย มีอุปกรณ์ถ่ายทอดภาพที่มีความคมชัดสูง อีกทั้งยังสามารถมองเห็นตำแหน่งพยาธิสภาพของโรคได้อย่างชัดเจน ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่นาน ส่งผลให้ผู้ป่วยบาดเจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว เพื่อลดโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อน การผ่าตัดแบบนี้จึงเป็นทางเลือกในการรักษาที่ดี อนึ่ง การผ่าตัดกระดูกสันหลัง Endospine ต้องอาศัยความชำนาญ ประสบการณ์ของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด และรู้จักเทคนิคการผ่าตัดแบบนี้เป็นอย่างดี เพื่อผลสำเร็จในการรักษาและแก้ไขอาการได้อย่างตรงจุด ช่วยให้คนไข้กลับมาเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงปกติ และไม่ต้องทนทรมานกับอาการปวดหลังอย่างเดิมอีก
ประสบการณ์ และผลงานในการรักษาผู้ป่วย เป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ ที่ผ่านมา ผศ.นพ.พรภวิษญ์ ศรีภิรมย์ ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการในการจัดงาน Asia Congress of Minimally Invasive Spine Surgery Techniques ในปี 2016 และในปี 2017 ได้รับเชิญเป็น President World Congress of Minimally Invasive Spine Surgery Techniques และเป็นคณะกรรมการผู้ก่อตั้งการประชุม (Chairman & Founder) ในการประชุม ASEAN Minimally Invasive Spine Surgical Techniques ครั้งที่ 5 ในปี 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์ และยังเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ในงาน North American Spine Society (NASS) ซึ่งเป็นคนไทยคนเดียวและคนแรกที่ได้เข้าร่วมงาน อีกทั้ง ยังได้รับเกียรติเป็นคณะกรรมการร่วม (Co Chairman) ในงาน North American Spine Society (NASS) ที่จะจัดขึ้นที่ประเทศไทยในเดือนกรกฎาคม 2020 อีกด้วย รวมถึงแพทย์ทุกคนล้วนประสบความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยมาตลอดระยะเวลา 12 ปี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น