คินเซนทริค ประเทศไทย เปิดตัวการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำประเทศไทย ปี 2563 (Kincentric Best Employer Thailand 2020)
คินเซนทริคและสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ได้เผยภาพรวมและคุณค่าที่ได้รับจากการเข้าร่วมการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำประเทศไทย ปี 2563
บริษัท คินเซนทริค และ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ประกาศเปิดความร่วมมือของการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ซึ่งครอบคลุม 14 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชีย และตะวันออกกลาง รวมถึงมีการจัดประกวดโครงการดังกล่าวทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา ในปีนี้ทางบริษัทได้มีการจัดประกวดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 20 โดย บริษัท คินเซนทริคเป็นผู้นำธุรกิจระดับโลกด้านให้คำปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับสากลในประเทศไทยที่เชี่ยวชาญในสาขาบริหารธุรกิจ และบริหารทรัพยากรบุคคล
ภายในงานเปิดตัวโครงการ ได้รับความเกียรติจาก Prof. Dr. Ian Fenwick (Director from Sasin School of Management) มาพูดคุยให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกันในหัวข้อ “The Future World of Work – Digital Transformation” ซึ่งเนื้อหาพูดถึง การเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล เศรษฐกิจ สภาพสังคม ทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยน มุมมอง เปลี่ยนกลยุทธ์ และการบริหารงานเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้น และผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิตอลในแต่ละช่วงเวลาจากอดีตไปสู่อนาคตอันใกล้ โดยสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือมีความยืดหยุ่น ว่องไว ในการปรับแผนกลยุทธ์และการปฏิบัติให้ทันกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
อ.สุภาพร จันทร์จำเริญ รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ได้ฝากข้อคิดแก่องค์กรนายจ้างและนักบริหารบุคคลยุคเศรษฐกิจพลิกผันอย่างรวดเร็วว่า ต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเรื่องไลฟ์สไตล์ ค่านิยมและความคาดหวังของพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความแตกต่างจากคนรุ่นก่อน ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยียุคดิจิตอลมาพัฒนางานบริหารบุคคล ได้แก่ การสร้างแบรนด์นายจ้าง การสรรหา พัฒนาและรักษาพนักงานต่างวัย ต้องสามารถตอบคำถามและแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรให้แก่ธุรกิจโดยการประมวลวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบอย่างรวดเร็วแม่นยำ เช่น สามารถแสดงตัวเลขความเสี่ยงด้านกำลังคนขององค์กรในแง่ปริมาณและคุณภาพ เป็นต้น
ดร.อดิศักดิ์ จันทรประภาเลิศ กรรมการผู้จัดการบริษัท คินเซนทริค ประเทศไทย ร่วมเสวนานำเสนอผลสำรวจจากการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ในปี 2562 และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตในการจัดการทรัพยากรบุคคล โดยองค์กรที่เป็นได้รับรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นในปีที่ผ่านมา มักมี 4 มิติหลักที่มีความโดดเด่นมากกว่าองค์กรทั่วไป ได้แก่ ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของนายจ้าง ประสิทธิภาพของผู้นำ และวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ อีกทั้งในยุคที่เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามาส่งผลกระทบต่อรูปแบบการทำงาน การสำรวจความผูกพันของพนักงานเพียงครั้งเดียวต่อปี ไม่อาจเพียงพอในทุกวันนี้ องค์กรควรใช้กลยุทธ์การรับฟังเสียงพนักงานอย่างต่อเนื่องผ่านเครื่องมือและช่องทางต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนให้พนักงานมีความรักและผูกพันกับองค์กร
นางสาวนภัส ศิริวรางกูร ผู้อำนวยการ และ Practice Lead ด้านภาวะผู้นำ บริษัท คินเซนทริค ประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาคนในองค์กรต่างๆ จะมีการนำวิธีการใหม่ๆ ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถมีโครงสร้างและวัฒนธรรมที่เอื้อกับการทำงาน ด้วยการพัฒนาหัวหน้าและพนักงานให้มีทักษะที่สำคัญและปรับตัวกับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับโลกดิจิตัล ซึ่งจะช่วยองค์กรมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ในส่วนของการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำประเทศไทย ปี 2563 จะเป็นโครงการที่เข้าไปเก็บข้อมูลจริงกับกลุ่มพนักงานซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสดใหม่ ณ ช่วงเวลานั้น รวมกับมุมมองของผู้บริหารในเชิงธุรกิจ และกระบวนการดูแลพนักงาน เพื่อดูความสอดคล้องของข้อมูล และได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการอิสระ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
ยิ่งไปกว่านั้นการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่นในปีที่ผ่านมา พบว่าองค์กรที่ได้เป็นสุดยอดนายจ้างดีเด่น มีผลประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวมสูงกว่าองค์กรทั่วไปถึงร้อยละ 86 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉลี่ย และถ้ามองในมิติของผลการเติบโตของผลประกอบการในภาพรวมก็จะมีอัตราการเติบโตของยอดขายที่สูงกว่าร้อยละ 71 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย ดังนั้นองค์กรที่เป็นสุดยอดนายจ้างดีเด่นมีการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานในมิติต่างๆในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เด่นกว่าองค์กรทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน โอกาสความก้าวหน้าทางอาชีพ การเรียนรู้และพัฒนา รวมถึงความน่าสนใจงานที่ได้รับมอบหมาย
นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ปี 2568 กลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ (Millennial) จะเข้าสู่ภาคแรงงานคิดเป็นจำนวนถึงร้อยละ 75 ของแรงงานในแต่ละองค์กร เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อพนักงานและการทำงานมากยิ่งขึ้น การทำงานที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เคลื่อนที่จะมีมากถึง 6-7 ครั้งต่อคนโดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าที่เป็นในปัจจุบันที่การเชื่อมต่อโดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 4X ดังนั้นระบบเทคโนโลยีสาระสนเทศด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR technology platform) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนในการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจตลอดวงจรชีวิตการทำงานของพนักงานแต่ละคน
ดร.พิมพิมน คงพิชญานนท์ ผู้จัดการโครงการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำปี 2563 ได้ อธิบายถึงรายละเอียดว่า แบบสำรวจมาตรฐาน ถูกนำไปใช้ทุกบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ ทั่วทุกภูมิภาค โดยโครงการเน้นย้ำ 3 ด้านของบริษัทได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน ระบบการจัดการภายในองค์กร และมุมมองของผู้บริหารสูงสุดในการบริหารองค์กร สำหรับการสมัครเข้าโครงการสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2563 ปัจจุบันอยุ่ในช่วงเปิดรับสมัครองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และปิดรับสมัครในวันสุดท้ายของเดือนพฤษภาคมปี 2563 และการจัดเก็บข้อมูลดำเนินจนถึงวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน ปี 2563 นี้
บริษัท คินเซนทริค และ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ประกาศเปิดความร่วมมือของการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุด ซึ่งครอบคลุม 14 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชีย และตะวันออกกลาง รวมถึงมีการจัดประกวดโครงการดังกล่าวทั่วโลก ทั้งทวีปอเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา ยุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกาเหนือ แอฟริกาใต้สะฮารา ในปีนี้ทางบริษัทได้มีการจัดประกวดต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 20 โดย บริษัท คินเซนทริคเป็นผู้นำธุรกิจระดับโลกด้านให้คำปรึกษาด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับสากลในประเทศไทยที่เชี่ยวชาญในสาขาบริหารธุรกิจ และบริหารทรัพยากรบุคคล
ภายในงานเปิดตัวโครงการ ได้รับความเกียรติจาก Prof. Dr. Ian Fenwick (Director from Sasin School of Management) มาพูดคุยให้ความรู้และแลกเปลี่ยนความเห็นร่วมกันในหัวข้อ “The Future World of Work – Digital Transformation” ซึ่งเนื้อหาพูดถึง การเปลี่ยนแปลงในเรื่องเทคโนโลยีดิจิตอล เศรษฐกิจ สภาพสังคม ทำให้องค์กรต้องปรับเปลี่ยน มุมมอง เปลี่ยนกลยุทธ์ และการบริหารงานเพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้น และผลกระทบจากเทคโนโลยีดิจิตอลในแต่ละช่วงเวลาจากอดีตไปสู่อนาคตอันใกล้ โดยสิ่งที่สำคัญมากที่สุดคือมีความยืดหยุ่น ว่องไว ในการปรับแผนกลยุทธ์และการปฏิบัติให้ทันกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
อ.สุภาพร จันทร์จำเริญ รองผู้อำนวยการ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ ได้ฝากข้อคิดแก่องค์กรนายจ้างและนักบริหารบุคคลยุคเศรษฐกิจพลิกผันอย่างรวดเร็วว่า ต้องมีความเข้าใจที่ลึกซึ้งเรื่องไลฟ์สไตล์ ค่านิยมและความคาดหวังของพนักงานรุ่นใหม่ที่มีความแตกต่างจากคนรุ่นก่อน ต้องรู้จักใช้เทคโนโลยียุคดิจิตอลมาพัฒนางานบริหารบุคคล ได้แก่ การสร้างแบรนด์นายจ้าง การสรรหา พัฒนาและรักษาพนักงานต่างวัย ต้องสามารถตอบคำถามและแก้ปัญหาเรื่องบุคลากรให้แก่ธุรกิจโดยการประมวลวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบอย่างรวดเร็วแม่นยำ เช่น สามารถแสดงตัวเลขความเสี่ยงด้านกำลังคนขององค์กรในแง่ปริมาณและคุณภาพ เป็นต้น
ดร.อดิศักดิ์ จันทรประภาเลิศ กรรมการผู้จัดการบริษัท คินเซนทริค ประเทศไทย ร่วมเสวนานำเสนอผลสำรวจจากการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ในปี 2562 และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มในอนาคตในการจัดการทรัพยากรบุคคล โดยองค์กรที่เป็นได้รับรางวัลสุดยอดนายจ้างดีเด่นในปีที่ผ่านมา มักมี 4 มิติหลักที่มีความโดดเด่นมากกว่าองค์กรทั่วไป ได้แก่ ความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์กร ชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของนายจ้าง ประสิทธิภาพของผู้นำ และวัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ อีกทั้งในยุคที่เทคโนโลยีดิจิตอลได้เข้ามาส่งผลกระทบต่อรูปแบบการทำงาน การสำรวจความผูกพันของพนักงานเพียงครั้งเดียวต่อปี ไม่อาจเพียงพอในทุกวันนี้ องค์กรควรใช้กลยุทธ์การรับฟังเสียงพนักงานอย่างต่อเนื่องผ่านเครื่องมือและช่องทางต่างๆ เพื่อเสริมสร้างและสนับสนุนให้พนักงานมีความรักและผูกพันกับองค์กร
นางสาวนภัส ศิริวรางกูร ผู้อำนวยการ และ Practice Lead ด้านภาวะผู้นำ บริษัท คินเซนทริค ประเทศไทย กล่าวว่า การพัฒนาคนในองค์กรต่างๆ จะมีการนำวิธีการใหม่ๆ ที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมาช่วยให้ผู้นำองค์กรสามารถมีโครงสร้างและวัฒนธรรมที่เอื้อกับการทำงาน ด้วยการพัฒนาหัวหน้าและพนักงานให้มีทักษะที่สำคัญและปรับตัวกับรูปแบบการทำงานให้สอดคล้องกับโลกดิจิตัล ซึ่งจะช่วยองค์กรมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ในส่วนของการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำประเทศไทย ปี 2563 จะเป็นโครงการที่เข้าไปเก็บข้อมูลจริงกับกลุ่มพนักงานซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความสดใหม่ ณ ช่วงเวลานั้น รวมกับมุมมองของผู้บริหารในเชิงธุรกิจ และกระบวนการดูแลพนักงาน เพื่อดูความสอดคล้องของข้อมูล และได้รับการพิจารณาจากคณะกรรมการอิสระ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ
ยิ่งไปกว่านั้นการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่นในปีที่ผ่านมา พบว่าองค์กรที่ได้เป็นสุดยอดนายจ้างดีเด่น มีผลประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยรวมสูงกว่าองค์กรทั่วไปถึงร้อยละ 86 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉลี่ย และถ้ามองในมิติของผลการเติบโตของผลประกอบการในภาพรวมก็จะมีอัตราการเติบโตของยอดขายที่สูงกว่าร้อยละ 71 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ย ดังนั้นองค์กรที่เป็นสุดยอดนายจ้างดีเด่นมีการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่พนักงานในมิติต่างๆในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลที่เด่นกว่าองค์กรทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการผลการปฏิบัติงาน โอกาสความก้าวหน้าทางอาชีพ การเรียนรู้และพัฒนา รวมถึงความน่าสนใจงานที่ได้รับมอบหมาย
นอกจากนี้ในอนาคตอันใกล้ปี 2568 กลุ่มพนักงานรุ่นใหม่ (Millennial) จะเข้าสู่ภาคแรงงานคิดเป็นจำนวนถึงร้อยละ 75 ของแรงงานในแต่ละองค์กร เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อพนักงานและการทำงานมากยิ่งขึ้น การทำงานที่เชื่อมต่ออุปกรณ์เคลื่อนที่จะมีมากถึง 6-7 ครั้งต่อคนโดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าที่เป็นในปัจจุบันที่การเชื่อมต่อโดยเฉลี่ยต่อคนจะอยู่ที่ 4X ดังนั้นระบบเทคโนโลยีสาระสนเทศด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR technology platform) จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนในการสร้างประสบการณ์ที่น่าประทับใจตลอดวงจรชีวิตการทำงานของพนักงานแต่ละคน
ดร.พิมพิมน คงพิชญานนท์ ผู้จัดการโครงการประกวดสุดยอดองค์กรนายจ้างดีเด่น ประจำปี 2563 ได้ อธิบายถึงรายละเอียดว่า แบบสำรวจมาตรฐาน ถูกนำไปใช้ทุกบริษัทที่เข้าร่วมโครงการ ทั่วทุกภูมิภาค โดยโครงการเน้นย้ำ 3 ด้านของบริษัทได้แก่ แบบสำรวจความคิดเห็นของพนักงาน ระบบการจัดการภายในองค์กร และมุมมองของผู้บริหารสูงสุดในการบริหารองค์กร สำหรับการสมัครเข้าโครงการสุดยอดนายจ้างดีเด่นประจำปี 2563 ปัจจุบันอยุ่ในช่วงเปิดรับสมัครองค์กรที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และปิดรับสมัครในวันสุดท้ายของเดือนพฤษภาคมปี 2563 และการจัดเก็บข้อมูลดำเนินจนถึงวันสุดท้ายของเดือนมิถุนายน ปี 2563 นี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น