สืบเนื่องจากการลงพื้นที่ในการทำกิจกรรม “SACICT จิตอาสา” เพื่อสร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ แก่ผู้ที่ต้องการโอกาสจากสังคม เช่น กลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ และกลุ่มประชาชนในสามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งได้จัดกิจกรรม ครั้งที่ 1 ที่ อ.แม่สรวย จ.เชียงรายนั้น นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ ได้หารือร่วมกับภาคีเครือข่ายท้องถิ่น อาทิ นายประสิทธิ์ โรยพริกไทย หัวหน้าฝ่ายพัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จากศูนย์พัฒนาราษฎรบนพื้นที่สูง จ.เชียงราย , นายกระมล อุปะรัตน์ สมาชิกสภาเทศบาลเวียงสรวย และ น.ส.ธมนณัฏฐ์ จอมเจดีย์ รองนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลเวียงสรวย เพื่อหารือแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกัน
สำหรับพื้นที่ ต.แม่สรวย อ. แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ เผ่า ลาหู่ อาข่า มูเซอ และเย้า ซึ่งมีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกสัปปะรด ข้าวโพด และถั่วลิสง เมื่อว่างเว้นจากการทำการเกษตร ผู้หญิงจะตัดเย็บเสื้อผ้าในแบบชนเผ่าโดยยังคงเอกลักษณ์ของตนเอง มีทั้งทำขึ้นเพื่อใช้เองและนำมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวและพ่อค้าคนกลาง แต่เนื่องจากสินค้าเป็นแบบดั้งเดิม การใช้วัตถุดิบ การออกแบบ และสีสัน รวมทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายยังมีจำกัด จึงทำให้ไม่สามารถประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องได้
SACICT จึงมีแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือไปสู่การผลักดันให้เป็นชุมชนหัตถกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพด้านศิลปหัตถกรรม โดยจะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้แก่ชนเผ่าในพื้นที่ โดยจะนำครูฯและทายาทฯของ SACICT ในหลากหลายงานศิลปหัตถกรรมมาให้ความรู้เพื่อพัฒนาให้สามารถทำเป็นอาชีพได้ในระยะยาว อาทิ งานดุนโลหะ งานจักสาน และงานผ้าอื่น ๆ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและแปรรูปสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งจะได้จัดหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ อันจะเป็นการสร้างให้ชุมชนหัตถกรรมของชนเผ่ามีความเข้มแข็ง ไม่เป็นภาระของสังคม สร้างความอยู่ดีกินดีและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
สำหรับพื้นที่ ต.แม่สรวย อ. แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นพื้นที่ของกลุ่มชาติพันธุ์ เผ่า ลาหู่ อาข่า มูเซอ และเย้า ซึ่งมีจำนวนประมาณ 100 หลังคาเรือน ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกสัปปะรด ข้าวโพด และถั่วลิสง เมื่อว่างเว้นจากการทำการเกษตร ผู้หญิงจะตัดเย็บเสื้อผ้าในแบบชนเผ่าโดยยังคงเอกลักษณ์ของตนเอง มีทั้งทำขึ้นเพื่อใช้เองและนำมาจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวและพ่อค้าคนกลาง แต่เนื่องจากสินค้าเป็นแบบดั้งเดิม การใช้วัตถุดิบ การออกแบบ และสีสัน รวมทั้งช่องทางการจัดจำหน่ายยังมีจำกัด จึงทำให้ไม่สามารถประกอบเป็นอาชีพสร้างรายได้ที่ต่อเนื่องได้
SACICT จึงมีแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือไปสู่การผลักดันให้เป็นชุมชนหัตถกรรม เพื่อสร้างความยั่งยืนในการประกอบอาชีพด้านศิลปหัตถกรรม โดยจะสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาศักยภาพและองค์ความรู้แก่ชนเผ่าในพื้นที่ โดยจะนำครูฯและทายาทฯของ SACICT ในหลากหลายงานศิลปหัตถกรรมมาให้ความรู้เพื่อพัฒนาให้สามารถทำเป็นอาชีพได้ในระยะยาว อาทิ งานดุนโลหะ งานจักสาน และงานผ้าอื่น ๆ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การออกแบบและแปรรูปสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งจะได้จัดหาช่องทางการตลาดใหม่ ๆ อันจะเป็นการสร้างให้ชุมชนหัตถกรรมของชนเผ่ามีความเข้มแข็ง ไม่เป็นภาระของสังคม สร้างความอยู่ดีกินดีและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น