รมว.พม. ลงพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เปิดศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวแห่งแรก
ในวันที่ 14 มกราคม 2562 เวลา 10.30 น. พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (รมว.พม.) ให้เกียรติเป็นประธานเปิดศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวตำบลข่วงเปา (ศปก.ต.ข่วงเปา) กล่าวรายงานโดย นางจิราพร เชาวน์ประยูร ยามาโมโต้ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับโดย นายรุ่งสุริยา เชียงชีระ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา โดยมี นายเลิศปัญญา บูรณบัณฑิต อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ตลอดจนคณะผู้บริหาร พม. ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานดังกล่าว
พลเอก อนันตพร กล่าวว่า จากสถานการณ์การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของความรุนแรงในครอบครัวมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ สาเหตุจากแนวคิดของสังคม อันได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ จารีตที่ยึดถือกัน เช่น แนวความคิดเรื่อง ผู้ชายเป็นใหญ่ที่เชื่อมโยงกับความคิดว่า ความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว ความสำคัญในการรักษาครอบครัว ถึงแม้สามีภรรยาจะไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันได้ก็ตาม พม. ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ซึ่ง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด พม. ก็ไม่ได้เพิกเฉยพร้อมเร่งดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัวจากความรุนแรง ผ่านกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในทุกช่องทาง ทั้งการสร้างความตระหนัก เข้าใจ การเข้าถึงสิทธิของประชาชน การรณรงค์ปรับเจตคติของสังคม ครอบครัว และการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวระดับตำบล (ศปก.ต.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในระดับพื้นที่ รวมทั้งการจัดตั้งโรงเรียนครอบครัว เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกครอบครัวในทุกช่วงวัย ตลอดจนปรับแก้กฎหมายให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสร้างกลไกพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจในการจัดให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงฯ เข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอรับคําปรึกษาแนะนําจากจิตแพทย์นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ และจัดให้ร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือการให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลออกคําสั่งกําหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราวอีกด้วย
พลเอก อนันตพร กล่าวต่ออีกว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ก็เป็นการสร้างกลไกเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงฯ ในระดับพื้นที่ที่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเป็นแห่งแรก เป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวตำบลข่วงเปา (ศปก.ต.ข่วงเปา) ซึ่ง ศปก.ต. แห่งนี้ ได้จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลข่วงเปา เมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคณะกรรมการศูนย์ฯ จำนวน 21 คน มีจำนวนสมาชิกเครือข่าย จำนวน 122 คน ได้จัดกิจกรรมค่ายครอบครัว ปีละ 1 ครั้ง และกิจกรรมอย่างอื่นอย่างต่อเนื่อง และได้ยกระดับเป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวระดับตำบล (ศปก.ต.) โดยได้มีการดำเนินงานการส่งเสริมสัมพันธภาพของครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีคลินิกครอบครัว เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ประสบปัญหาในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
“หากพบเห็นการกระทำความรุนแรงต่อบุคคลในครอบครัว และความรุนแรงในสังคมในรูปแบบอื่น ๆ สามารถแจ้งเหตุหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม พม. โทร 1300 ทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง หรือประสานแจ้งศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว หรือประสานศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย
พลเอก อนันตพร กล่าวว่า จากสถานการณ์การใช้ความรุนแรงภายในครอบครัว ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่ของความรุนแรงในครอบครัวมีหลายสาเหตุด้วยกัน แต่สาเหตุที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง คือ สาเหตุจากแนวคิดของสังคม อันได้แก่ ค่านิยม ความเชื่อ จารีตที่ยึดถือกัน เช่น แนวความคิดเรื่อง ผู้ชายเป็นใหญ่ที่เชื่อมโยงกับความคิดว่า ความรุนแรงเป็นเรื่องส่วนตัว ความสำคัญในการรักษาครอบครัว ถึงแม้สามีภรรยาจะไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันได้ก็ตาม พม. ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว ซึ่ง กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว (สค.) ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัด พม. ก็ไม่ได้เพิกเฉยพร้อมเร่งดำเนินการสร้างภูมิคุ้มกันครอบครัวจากความรุนแรง ผ่านกระบวนการป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงในทุกช่องทาง ทั้งการสร้างความตระหนัก เข้าใจ การเข้าถึงสิทธิของประชาชน การรณรงค์ปรับเจตคติของสังคม ครอบครัว และการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชน (ศพค.) ให้เป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวระดับตำบล (ศปก.ต.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัวในระดับพื้นที่ รวมทั้งการจัดตั้งโรงเรียนครอบครัว เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งของสมาชิกครอบครัวในทุกช่วงวัย ตลอดจนปรับแก้กฎหมายให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสร้างกลไกพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอำนาจในการจัดให้ผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงฯ เข้ารับการตรวจรักษาจากแพทย์ และขอรับคําปรึกษาแนะนําจากจิตแพทย์นักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ และจัดให้ร้องทุกข์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือการให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่หรือศาลออกคําสั่งกําหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ให้แก่บุคคลผู้ถูกกระทําด้วยความรุนแรงในครอบครัวเป็นการชั่วคราวอีกด้วย
พลเอก อนันตพร กล่าวต่ออีกว่า การลงพื้นที่ในครั้งนี้ ก็เป็นการสร้างกลไกเฝ้าระวังปัญหาความรุนแรงฯ ในระดับพื้นที่ที่มีการเปิดตัวอย่างเป็นทางการเป็นแห่งแรก เป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวตำบลข่วงเปา (ศปก.ต.ข่วงเปา) ซึ่ง ศปก.ต. แห่งนี้ ได้จัดตั้งเป็นศูนย์พัฒนาครอบครัวในชุมชนตำบลข่วงเปา เมื่อปี พ.ศ. 2558 มีคณะกรรมการศูนย์ฯ จำนวน 21 คน มีจำนวนสมาชิกเครือข่าย จำนวน 122 คน ได้จัดกิจกรรมค่ายครอบครัว ปีละ 1 ครั้ง และกิจกรรมอย่างอื่นอย่างต่อเนื่อง และได้ยกระดับเป็นศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัวระดับตำบล (ศปก.ต.) โดยได้มีการดำเนินงานการส่งเสริมสัมพันธภาพของครอบครัวมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีคลินิกครอบครัว เพื่อช่วยเหลือครอบครัวที่ประสบปัญหาในชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
“หากพบเห็นการกระทำความรุนแรงต่อบุคคลในครอบครัว และความรุนแรงในสังคมในรูปแบบอื่น ๆ สามารถแจ้งเหตุหรือแจ้งเบาะแสได้ที่ศูนย์ช่วยเหลือสังคม พม. โทร 1300 ทั่วประเทศ ตลอด 24 ชั่วโมง หรือประสานแจ้งศูนย์ปฏิบัติการกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว หรือประสานศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันการกระทำความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทั้ง 76 จังหวัด” พลเอก อนันตพร กล่าวในตอนท้าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น