“อพท.” จัดอบรมชุมชนเรื่องท่องเที่ยวยั่งยืน เดินสายครอบคลุม 9 เขตพัฒนาการท่องเที่ยวโดยครั้งนี้ลงพื้นที่"เขมราฐ" จ.อุบลราชธานี
อพท. เดินสายอบรม “หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน” ครอบคลุม 9 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว เป้าหมาย 500 คน โดยเชิญชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจร่วมกันเรื่องการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หวังทุกภาคส่วนนำความรู้ที่ได้รับไปบูรณาการการทำงานร่วมกัน เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในทุกพื้นที่
ดร. ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน (CBT Thailand) ที่ อพท. ได้จัดทำขึ้น และมอบให้ อพท. นำไปใช้เผยแพร่ อพท. จึงได้กำหนดจัด กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนตาม “หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชนเชิงบูรณาการ” (Certificate in CBT Integrated) ในรูปแบบการอบรมให้ความรู้กับชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง แบ่งเป็น 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) และอีก 1 พื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ
การอบรมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี ทุกๆครั้ง อพท. จะเชิญชุมชน และตัวแทนจากทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรอิสระ มาร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้เรื่องการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อร่วมกันทำภารกิจการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเป้าหมายเดียวกัน ตั้งเป้าหมายตลอดโครงการมีผู้ผ่านการอบรมรวม 500 คน โดยทุกคนจะได้รับความรู้ และ อพท. ยังได้เผยแพร่แนวทางและเครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ภาคส่วน และ ภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้และร่วมติดตามประเมินผลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวต่างๆ ต่อไปอีกด้วย
โดย อพท. ดำเนินงานในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Thailand) ภายใต้คณะกรรมการ นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ซึ่ง อพท. ยินดีที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย เพื่อผลักดันให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยประสบความสำเร็จ และเป็นประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เป้าหมายเพื่อให้ชุน และภาคีเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ ได้เข้าใจความหมายของการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนว่าคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร รวมถึงเข้าใจแนวทางและเครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนสามารถบูรณาการการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนร่วมกัน ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริงจากการอบรม ไปใช้เป็นเครื่องมือขยายผลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตัวเองได้ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีฐานทรัพยากรชุมชนที่น่าสนใจมากมายได้ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้อำนวยการ สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท. กล่าวว่า หลักสูตร CBT Integrated มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะของการเป็นหน่วยงานพี่เลี้ยงชุมชนและองค์กรชุมชน ที่ต้องเข้าใจว่าผลลัพธ์ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนคืออะไร ทำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาชุมชน การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยว การคิดเชิงการตลาดที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยว และการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรดังกล่าวนี้ อพท. พัฒนาขึ้นจากการถอดบทเรียนจากการทำงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของ อพท. มาตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ กรณีศึกษา แนวทางปฏิบัติ และข้อควรระวังในการทำงานร่วมกับชุมชนในหลากหลายบริบท ครอบคลุมตั้งแต่ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน การประเมินศักยภาพชุมชน ทักษะการเป็นนักพัฒนาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ความเข้าใจมุมมองทางการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่น่าสนใจซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนดัน “เขมราฐ” ชุมชนนำร่อง
กิจกรรมการอบรมครั้งนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “เพราะทำท่องเที่ยว เก่งคนเดียวไม่ได้” อพท. จึงได้เชิญทุกหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชน สถาบันการศึกษา สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพื้นที่ บริษัทประชารัฐร่วมใจ หอการค้า สมาคมโรงแรม สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นต้น มาเข้าร่วมการอบรม เพื่อให้ทุกหน่วยงานนำความเชี่ยวชาญและความเก่งของตัวเองมาบูรณาการเติมเต็มซึ่งกัน ให้ทุกฝ่ายเกิดความเข้าใจและช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวร่วมกัน
สำหรับชุมชนเขมราษฏร์ธานี มีความพิเศษคือเป็นการรวมกลุ่มของชุมชนใน 4 ตำบลที่เชื่อมโยงกัน มีการพัฒนาวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นและแบ่งปันรายได้ร่วมกัน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจของ อพท. ได้คะเนนการประเมินในระดับที่น่าพอใจ ชุมชนมีความพร้อม มีฐานทรัพยากรที่ดีมาก สิ่งที่ อพท. จะเข้าไปช่วยเสริม คือการให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน และความรู้เรื่องการตลาด การประเมินศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ดร. ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน (CBT Thailand) ที่ อพท. ได้จัดทำขึ้น และมอบให้ อพท. นำไปใช้เผยแพร่ อพท. จึงได้กำหนดจัด กิจกรรมเสริมสร้างความเข้าใจการท่องเที่ยวโดยชุมชนตาม “หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อชุมชนเชิงบูรณาการ” (Certificate in CBT Integrated) ในรูปแบบการอบรมให้ความรู้กับชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 9 ครั้ง แบ่งเป็น 8 เขตพัฒนาการท่องเที่ยว (คลัสเตอร์) และอีก 1 พื้นที่พัฒนาการท่องเที่ยวคุ้งบางกะเจ้า จังหวัดสมุทรปราการ
การอบรมครั้งนี้เป็นครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่ จังหวัดอุบลราชธานี ทุกๆครั้ง อพท. จะเชิญชุมชน และตัวแทนจากทุกภาคส่วนในห่วงโซ่อุปทานของการท่องเที่ยวทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา องค์กรอิสระ มาร่วมรับฟัง แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้เรื่องการทำการท่องเที่ยวโดยชุมชน และการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อร่วมกันทำภารกิจการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนในเป้าหมายเดียวกัน ตั้งเป้าหมายตลอดโครงการมีผู้ผ่านการอบรมรวม 500 คน โดยทุกคนจะได้รับความรู้ และ อพท. ยังได้เผยแพร่แนวทางและเครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ภาคส่วน และ ภาคีเครือข่ายต่างๆ ได้นำไปประยุกต์ใช้และร่วมติดตามประเมินผลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวต่างๆ ต่อไปอีกด้วย
โดย อพท. ดำเนินงานในฐานะผู้ช่วยเลขานุการคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน (CBT Thailand) ภายใต้คณะกรรมการ นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ (ท.ท.ช.) ซึ่ง อพท. ยินดีที่จะทำงานร่วมกับทุกภาคีเครือข่าย เพื่อผลักดันให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยประสบความสำเร็จ และเป็นประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง เป้าหมายเพื่อให้ชุน และภาคีเครือข่ายในแต่ละพื้นที่ ได้เข้าใจความหมายของการทำท่องเที่ยวโดยชุมชนว่าคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร รวมถึงเข้าใจแนวทางและเครื่องมือการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อให้หน่วยงานทุกภาคส่วนสามารถบูรณาการการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนร่วมกัน ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถนำความรู้และประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติจริงจากการอบรม ไปใช้เป็นเครื่องมือขยายผลการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตัวเองได้ทั่วประเทศ ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศที่มีฐานทรัพยากรชุมชนที่น่าสนใจมากมายได้ใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
นางสาววัชรี ชูรักษา ผู้อำนวยการ สำนักท่องเที่ยวโดยชุมชน อพท. กล่าวว่า หลักสูตร CBT Integrated มุ่งเน้นการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจและทักษะของการเป็นหน่วยงานพี่เลี้ยงชุมชนและองค์กรชุมชน ที่ต้องเข้าใจว่าผลลัพธ์ของการท่องเที่ยวโดยชุมชนคืออะไร ทำอย่างไรให้เกิดการเชื่อมโยงการท่องเที่ยวโดยชุมชนกับการพัฒนาชุมชน การเพิ่มมูลค่าทรัพยากรท้องถิ่นผ่านการท่องเที่ยว การคิดเชิงการตลาดที่เหมาะสมกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน การบริหารจัดการความเปลี่ยนแปลง การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยว และการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยหลักสูตรดังกล่าวนี้ อพท. พัฒนาขึ้นจากการถอดบทเรียนจากการทำงานด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนของ อพท. มาตลอดระยะเวลากว่า 6 ปี โดยมีการรวบรวมองค์ความรู้ กรณีศึกษา แนวทางปฏิบัติ และข้อควรระวังในการทำงานร่วมกับชุมชนในหลากหลายบริบท ครอบคลุมตั้งแต่ความเข้าใจเรื่องการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน การประเมินศักยภาพชุมชน ทักษะการเป็นนักพัฒนาเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลง ความเข้าใจมุมมองทางการตลาดการท่องเที่ยวโดยชุมชน และ การออกแบบประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนที่น่าสนใจซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในกระบวนการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนให้ประสบความสำเร็จได้อย่างยั่งยืนดัน “เขมราฐ” ชุมชนนำร่อง
กิจกรรมการอบรมครั้งนี้ดำเนินการภายใต้แนวคิด “เพราะทำท่องเที่ยว เก่งคนเดียวไม่ได้” อพท. จึงได้เชิญทุกหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ชุมชน สถาบันการศึกษา สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานพื้นที่ บริษัทประชารัฐร่วมใจ หอการค้า สมาคมโรงแรม สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัด สภาวัฒนธรรมจังหวัด สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด เป็นต้น มาเข้าร่วมการอบรม เพื่อให้ทุกหน่วยงานนำความเชี่ยวชาญและความเก่งของตัวเองมาบูรณาการเติมเต็มซึ่งกัน ให้ทุกฝ่ายเกิดความเข้าใจและช่วยขับเคลื่อนการท่องเที่ยวร่วมกัน
สำหรับชุมชนเขมราษฏร์ธานี มีความพิเศษคือเป็นการรวมกลุ่มของชุมชนใน 4 ตำบลที่เชื่อมโยงกัน มีการพัฒนาวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ให้เป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ มีการใช้ทรัพยากรของท้องถิ่นและแบ่งปันรายได้ร่วมกัน ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจของ อพท. ได้คะเนนการประเมินในระดับที่น่าพอใจ ชุมชนมีความพร้อม มีฐานทรัพยากรที่ดีมาก สิ่งที่ อพท. จะเข้าไปช่วยเสริม คือการให้ความรู้เรื่องการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน และความรู้เรื่องการตลาด การประเมินศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น