การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชนร่วมสำรวจ เส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน (Gastronomy Tourism) ณ จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 13-15 พค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็น 1 ใน 5 จังหวัดที่จะถูกขับเคลื่อนการท่องเที่ยวด้วยประสบการณ์ใหม่ๆ จากเรื่องราวของ “การกิน” หนึ่งในซิกเนเจอร์ของเมืองไทย เพื่อให้ได้สัมผัสกับวิถีชุมชน ชีวิตและเรื่องราวที่น่าสนใจที่ผูกร้อยเรื่องราวกับพื้นถิ่น โดยการนำของ ผอ.คมกริช ด้วงเงิน ที่ได้เล่าให้ฟังถึงที่มาของโครงการพร้อมกับความโดดเด่นของจังหวัดตราดกับศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวที่หลากหลาย
นายคมกริช ด้วงเงิน ผอ. เล่าให้ฟังว่า ผมอยู่ฝ่ายสินค้าหรือโพรดักส์ ซึ่งก็จะมีอีกหลายๆ ฝ่ายที่ประสานกัน ทั้งฝ่ายการตลาด ฝ่ายแผนและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการซึ่งตอบโจทย์ของรัฐบาลเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองรอง เพราะการท่องเที่ยวปีที่ผ่านมาทำรายได้ 2 ล้านล้านบาท แต่กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลัก หรือ อยู่ในทางภาคธุรกิจหรือที่เขาประกอบการ หลักๆ ไม่ได้กระจายสู่ชุมชนหรือภาคการเกษตร รัฐจึงคิดเรื่องเมืองรอง
กำหนดเมืองรองคือจำนวนนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยี่ยมเยียน รวมกันแล้วถ้าไม่ถึง 4 ล้านคนถือว่าเป็นเมืองรอง ที่ไม่ถึงมี 55 จังหวัด ตราดคือ 1 ใน 55 จังหวัดนั้น ประกอบกับปัจจุบัน การท่องเที่ยวเชิงอาหารหรือ Food Tourism หรือเที่ยวเพื่อกินเป็นกระแสหลัก เพราะว่าเรามีการศึกษาวิจัยพบว่า ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มมีสูง และแนวโน้มสูงขึ้น คิดเป็นมูลค่า 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวโดยรวม
ทั้งนี้เรื่องของอาหาร ก็ยังเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิถีชุมชน วิถีชีวิตของชาวบ้าน ภาคเกษตร ซึ่งจะมาโยงกับนโยบายของรัฐบาลที่จะกระจายมายังพื้นที่ชุมชนหรือเมืองรอง เพราะปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมักเสาะหาอาหารท้องถิ่นที่มีความแปลกใหม่ในแต่ละที่ ที่เดินทางไปโดยถือว่าอาหารถือเป็นประสบการณ์หนึ่งในการเดินทาง
นอกจากนี้เรื่องของอาหารยังผูกพันกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ระบบนิเวศน์ในพื้นที่ จากแนวโน้มดังกล่าว ทางฝ่ายสินค้าจึงให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เส้นทางสินค้าอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งโครงการของเราที่มาในวันนี้ ชื่อโครงการว่า เส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน (Gastronomy Tourism)
นาย คมกริช เล่าถึง Gastronomy Tourism ว่า “ Gastronomy ความหมายคือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการกิน ศิลปะในการกินอาหาร ตั้งแต่กระบวนการที่เกิดขึ้นมาวัตถุดิบนำมาปรุงอยู่ในพื้นถิ่น เช่นหอยพอกชุมชนก็นำมาทำอาหารเมนูแกงหอยพอกใบชะพลู ใบโกงกางก็นำมาชุบแป้งทอด ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้จากพื้นถิ่น จะต่างจาก Food Tourism ที่เป็นอาหารทั่วไป ที่ไม่ได้สนใจว่าจะมาจากพื้นถิ่นหรือไม่ จะนำเข้าหรือมาจากไหน
ที่นำเสนอในครั้งนี้มีหลากหลาย เช่น ก๋วยเตี๋ยวอ่อนน้ำพริก ขนมจ้างโบราณ ขนมบันดุ๊ก แกงไก่ใส่กล้วยพระ วุ้นหมาน้อยในน้ำเชื่อม เป็นต้น
เราจะใช้ตัวของอาหารไทย อาหารถิ่นเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งมีแนวโน้มที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยเรื่องของอาหารและเครื่องดื่ม เราทำโครงการนี้ทั่วประเทศ แต่ระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด จึงทำได้เส้นทางนำร่อง ภาคละ 1 พื้นที่ แต่ในข้อมูลจะมีภาคละ 2 พื้นที่ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกเราไปลพบุรี เป็นตัวแทนภาคกลาง ตราดเป็นตัวแทนของภาคตะวันออก ทริปต่อไปเป็นตาก ตัวแทนภาคเหนือและถัดไปสุรินทร์ ตัวแทนภาคอีสานและสุดท้ายสตูลตัวแทนภาคใต้ ซึ่งทุกจังหวัดจะเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ถึงสี่ล้าน
นายคมกริช ด้วงเงิน ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการบริการท่องเที่ยว
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.)
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย นำคณะสื่อมวลชนร่วมสำรวจ เส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน (Gastronomy Tourism) ณ จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 13-15 พค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็น 1 ใน 5 จังหวัดที่จะถูกขับเคลื่อนการท่องเที่ยวด้วยประสบการณ์ใหม่ๆ จากเรื่องราวของ “การกิน” หนึ่งในซิกเนเจอร์ของเมืองไทย เพื่อให้ได้สัมผัสกับวิถีชุมชน ชีวิตและเรื่องราวที่น่าสนใจที่ผูกร้อยเรื่องราวกับพื้นถิ่น โดยการนำของ ผอ.คมกริช ด้วงเงิน ที่ได้เล่าให้ฟังถึงที่มาของโครงการพร้อมกับความโดดเด่นของจังหวัดตราดกับศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวที่หลากหลายนายคมกริช ด้วงเงิน ผอ. เล่าให้ฟังว่า ผมอยู่ฝ่ายสินค้าหรือโพรดักส์ ซึ่งก็จะมีอีกหลายๆ ฝ่ายที่ประสานกัน ทั้งฝ่ายการตลาด ฝ่ายแผนและฝ่ายประชาสัมพันธ์ ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการซึ่งตอบโจทย์ของรัฐบาลเรื่องของการท่องเที่ยวเมืองรอง เพราะการท่องเที่ยวปีที่ผ่านมาทำรายได้ 2 ล้านล้านบาท แต่กระจุกตัวอยู่ในเมืองหลัก หรือ อยู่ในทางภาคธุรกิจหรือที่เขาประกอบการ หลักๆ ไม่ได้กระจายสู่ชุมชนหรือภาคการเกษตร รัฐจึงคิดเรื่องเมืองรอง
กำหนดเมืองรองคือจำนวนนักท่องเที่ยวหรือผู้มาเยี่ยมเยียน รวมกันแล้วถ้าไม่ถึง 4 ล้านคนถือว่าเป็นเมืองรอง ที่ไม่ถึงมี 55 จังหวัด ตราดคือ 1 ใน 55 จังหวัดนั้น ประกอบกับปัจจุบัน การท่องเที่ยวเชิงอาหารหรือ Food Tourism หรือเที่ยวเพื่อกินเป็นกระแสหลัก เพราะว่าเรามีการศึกษาวิจัยพบว่า ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่ใช้จ่ายเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มมีสูง และแนวโน้มสูงขึ้น คิดเป็นมูลค่า 1 ใน 3 ของค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวโดยรวม
ทั้งนี้เรื่องของอาหาร ก็ยังเชื่อมโยงเกี่ยวกับวิถีชุมชน วิถีชีวิตของชาวบ้าน ภาคเกษตร ซึ่งจะมาโยงกับนโยบายของรัฐบาลที่จะกระจายมายังพื้นที่ชุมชนหรือเมืองรอง เพราะปัจจุบันกระแสการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวมักเสาะหาอาหารท้องถิ่นที่มีความแปลกใหม่ในแต่ละที่ ที่เดินทางไปโดยถือว่าอาหารถือเป็นประสบการณ์หนึ่งในการเดินทาง
นอกจากนี้เรื่องของอาหารยังผูกพันกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ระบบนิเวศน์ในพื้นที่ จากแนวโน้มดังกล่าว ทางฝ่ายสินค้าจึงให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์เส้นทางสินค้าอาหารเพื่อการท่องเที่ยว ซึ่งโครงการของเราที่มาในวันนี้ ชื่อโครงการว่า เส้นทางสายกิน อาหารถิ่นในตำนาน (Gastronomy Tourism)
นาย คมกริช เล่าถึง Gastronomy Tourism ว่า “ Gastronomy ความหมายคือศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องการกิน ศิลปะในการกินอาหาร ตั้งแต่กระบวนการที่เกิดขึ้นมาวัตถุดิบนำมาปรุงอยู่ในพื้นถิ่น เช่นหอยพอกชุมชนก็นำมาทำอาหารเมนูแกงหอยพอกใบชะพลู ใบโกงกางก็นำมาชุบแป้งทอด ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้จากพื้นถิ่น จะต่างจาก Food Tourism ที่เป็นอาหารทั่วไป ที่ไม่ได้สนใจว่าจะมาจากพื้นถิ่นหรือไม่ จะนำเข้าหรือมาจากไหน
ที่นำเสนอในครั้งนี้มีหลากหลาย เช่น ก๋วยเตี๋ยวอ่อนน้ำพริก ขนมจ้างโบราณ ขนมบันดุ๊ก แกงไก่ใส่กล้วยพระ วุ้นหมาน้อยในน้ำเชื่อม เป็นต้น
เราจะใช้ตัวของอาหารไทย อาหารถิ่นเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวซึ่งมีแนวโน้มที่ให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจับจ่ายใช้สอยเรื่องของอาหารและเครื่องดื่ม เราทำโครงการนี้ทั่วประเทศ แต่ระยะเวลาและงบประมาณที่จำกัด จึงทำได้เส้นทางนำร่อง ภาคละ 1 พื้นที่ แต่ในข้อมูลจะมีภาคละ 2 พื้นที่ ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ครั้งแรกเราไปลพบุรี เป็นตัวแทนภาคกลาง ตราดเป็นตัวแทนของภาคตะวันออก ทริปต่อไปเป็นตาก ตัวแทนภาคเหนือและถัดไปสุรินทร์ ตัวแทนภาคอีสานและสุดท้ายสตูลตัวแทนภาคใต้ ซึ่งทุกจังหวัดจะเป็นจำนวนนักท่องเที่ยวไม่ถึงสี่ล้าน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น