วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม 2561 เวลา 10.00 น. นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองอธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร
นางสาวแรมรุ้ง กล่าวว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนภารกิจตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้ดำเนินการตามพ.ร.บ.ฯ แก้ไขปัญหาสังคมและให้การคุ้มครอง สวัสดิภาพผู้กระทำการขอทานอย่างเป็นระบบ ตามนโยบาย 3P ได้แก่ 1) Policy การขับเคลื่อนนโยบาย 2) Protection การคุ้มครอง และ 3) Prevention การป้องกัน นอกจากนี้ ยังมุ่งแก้ไขปัญหาการขอทานโดยการควบคุม คุ้มครอง และพัฒนาผู้กระทำการขอทาน ด้วยการจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมผู้กระทำการขอทาน
ผ่านกระบวนการทางวิชาชีพ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจให้คนในสังคม ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาในทุกพื้นที่ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ความสำเร็จจากการบูรณาการจากทุกภาคส่วนในสังคม ส่งผลให้จำนวนผู้กระทำการขอทานลดลงจากเดิม จำนวน 4,649 คน (สำรวจ ณ เดือน ตุลาคม 2557 - 28 กรกฎาคม 2559) ลดลงเหลือ 1,383 คน (สำรวจ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 - 15 พฤษภาคม 2561)
นางสาวแรมรุ้ง กล่าวต่อว่า พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 มาตรา 27 กำหนดให้มีการ
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 กำหนดไว้ เพื่อควบคุม คัดกรอง คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้กระทำการขอทาน ซึ่งปัจจุบัน ได้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสิ้น 840 คน และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฯ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดย กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต จึงจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และจัดทำเป็นร่างคู่มือการปฏิบัติงานฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการควบคุมการขอทานให้ความเห็นชอบต่อไป และเมื่อผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการฯดังกล่าวแล้ว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะได้จัดพิมพ์เผยแพร่ให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานตามบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดได้อย่างถูกต้อง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ และขับเคลื่อนภารกิจอย่างมีมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คนไร้ที่พึ่ง คนขอทานให้ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลืออย่างถูกต้องต่อไป ทั้งนี้หากพบเห็นคนไร้ที่พึ่ง และคนขอทาน หรือผู้ประสบปัญหาทางสังคมสามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร. ๑๓๐๐ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง นางสาวแรมรุ้ง กล่าวในตอนท้าย
นางสาวแรมรุ้ง กล่าวว่า กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ (พส.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนภารกิจตามพระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการได้ดำเนินการตามพ.ร.บ.ฯ แก้ไขปัญหาสังคมและให้การคุ้มครอง สวัสดิภาพผู้กระทำการขอทานอย่างเป็นระบบ ตามนโยบาย 3P ได้แก่ 1) Policy การขับเคลื่อนนโยบาย 2) Protection การคุ้มครอง และ 3) Prevention การป้องกัน นอกจากนี้ ยังมุ่งแก้ไขปัญหาการขอทานโดยการควบคุม คุ้มครอง และพัฒนาผู้กระทำการขอทาน ด้วยการจัดระเบียบขอทานทั่วประเทศ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ และพฤติกรรมผู้กระทำการขอทาน
ผ่านกระบวนการทางวิชาชีพ การรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ ความเข้าใจให้คนในสังคม ได้ตระหนัก และเห็นความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาในทุกพื้นที่ ทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค ความสำเร็จจากการบูรณาการจากทุกภาคส่วนในสังคม ส่งผลให้จำนวนผู้กระทำการขอทานลดลงจากเดิม จำนวน 4,649 คน (สำรวจ ณ เดือน ตุลาคม 2557 - 28 กรกฎาคม 2559) ลดลงเหลือ 1,383 คน (สำรวจ ณ วันที่ 29 กรกฎาคม 2559 - 15 พฤษภาคม 2561)
นางสาวแรมรุ้ง กล่าวต่อว่า พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ.2559 มาตรา 27 กำหนดให้มีการ
แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการตามที่พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 กำหนดไว้ เพื่อควบคุม คัดกรอง คุ้มครอง และพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้กระทำการขอทาน ซึ่งปัจจุบัน ได้ออกบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ให้แก่บุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ รวมทั้งสิ้น 840 คน และเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฯ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ โดย กองคุ้มครองสวัสดิภาพและเสริมสร้างคุณภาพชีวิต จึงจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพ.ร.บ.ควบคุมการขอทาน พ.ศ. 2559 และเชิญผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.ควบคุมการขอทานฯ ร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และจัดทำเป็นร่างคู่มือการปฏิบัติงานฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการฯ และคณะกรรมการควบคุมการขอทานให้ความเห็นชอบต่อไป และเมื่อผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการฯดังกล่าวแล้ว กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการจะได้จัดพิมพ์เผยแพร่ให้ผู้ปฏิบัติงาน สามารถปฏิบัติงานตามบทบาท ภารกิจ อำนาจหน้าที่ตามกฎหมายกำหนดได้อย่างถูกต้อง
กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนในการจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ฯ และขับเคลื่อนภารกิจอย่างมีมาตรฐาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต คนไร้ที่พึ่ง คนขอทานให้ได้รับการคุ้มครองและช่วยเหลืออย่างถูกต้องต่อไป ทั้งนี้หากพบเห็นคนไร้ที่พึ่ง และคนขอทาน หรือผู้ประสบปัญหาทางสังคมสามารถแจ้งศูนย์ช่วยเหลือสังคม โทร. ๑๓๐๐ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง นางสาวแรมรุ้ง กล่าวในตอนท้าย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น